ทฤษฎีสี -Color Theory

ความหมายและที่มา

สี(COLOUR) หมายถึง ลักษณะของรูปที่กระทบต่อสายตา ให้เห็นเป็นวรรณะ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานของไทย หมายถึง ลักษณะของแสง ที่ปรากฏแก่ สายตาเรา ให้เห็นเป็น สีขาว ดำ แดง เขียว และอื่นๆ หรือการสะท้อนรัศมีของแสงมาสู่ตาเรา โดยสีเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ เกิดจากการสะท้อนของแสงสว่าง ตกกระทบกับวัตถุ แล้วเกิดการหักเหของแสง (Spectrum) สีเป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง ซึ่งปรากฏให้เห็นทางสายตา เมื่อแสงผ่านละอองไอน้ำ ในอากาศ หรือ แท่งแก้วปริซึม ปรากฏเป็นสีต่างๆ รวม 7 สี ได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน ฟ้าหรือคราม น้ำเงิน และม่วง ที่เห็นเป็นรุ้ง ที่ปรากฏบนท้องฟ้าหรือเรียกว่าสีรุ้ง ดังภาพ เป็นที่มาของระบบสี RGB

ทฤษฎีสีเป็นหลักการที่ผู้เชี่ยวชาญในด้านสี และนักวิทยาศาสตร์สีใช้ในการอธิบายและเข้าใจเกี่ยวกับสีและลักษณะต่างๆของมัน โดยทฤษฎีสีมีการสรุปสีต่างๆในรูปของตารางสี และอธิบายคุณลักษณะต่างๆของสี

แม่สีหลักที่ประกอบด้วย 3 สี คือ สี แดง สี เขียน และสีน้ำเงินหรือเรียกว่า ( RGB ) Color เป็นสีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม และวัตถุธาตุเป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี หรือทวีคุณสมบัติของสีที่ที่เกิดขึ้นเรียกว่าวงจรสี ซึ่งเกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ ทฤษฎีสีจึงช่วยให้เรารู้เรื่องสีมากขึ้นและเข้าใจลักษณะของสีในประเภทต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

รูปภาพแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรในรูปแบบ CMYK (สีฟ้า สีม่วงแดง สีเหลือง และสีขาว) เนื่องจากวงกลมแต่ละวงซ้อนทับสีอื่นเพื่อสร้างสีใหม่

ทฤษฎีสียังได้กล่าวถึงเรื่องของวรรณะของสี ซึ่งหมายถึงคุณลักษณะที่ให้ความรู้สึกของความร้อนหรือเย็น โดยสีอาจถูกแบ่งออกเป็นวรรณะร้อนและเย็น ซึ่งทั้งสองวรรณะนี้มีผลต่อการตอบสนอง ในทางความรู้สึก และอารมณ์ของมนุษย์ และช่วยให้การใช้สีในงานศิลปะ และสื่อสารมนุษย์มีความสำเร็จมากขึ้น

ทฤษฎีสียังระบุถึงความหมายและคุณลักษณะของแต่ละสี เช่น สีแดงซึ่งมักถูกอธิบายว่ามีความสำคัญทางจิตวิทยาเนื่องจากผลการแสดงจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสีแดง เป็นต้น หรือสีเขียว และสีน้ำเงินก็มีผลในทางจิตวิทยาด้วยกันทั้งสิ้น

โดยทฤษฎีสีจะช่วยให้เรามีความรู้เรื่องสีและ คุณลักษณะต่างๆของมันได้ดียิ่งขึ้นและเข้าใจการใช้สีในทุกๆด้านอย่างที่ต้องการ สรุปคือ ทฤษฎีสีช่วยในการอธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสีและลักษณะต่างๆของมันด้วยการสรุปสีต่างๆในรูปของตารางสี และอธิบายคุณลักษณะต่างๆของสีได้ดียิ่งขึ้น หรือสรุปความหมายและคุณลักษณะของแต่ละสีและการนำไปใช้งาน

ประเภทของสี

สี เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยปรากฏอยู่ในวรรณะของวัตถุที่อยู่ในโลกนี้ หรือแม้แต่จักรวาลก็มีอยู่ แต่สีที่ปรากฏอยู่ในโลกสามารถแบ่ง ประเภทออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  • 2.1 สีที่เกิดในธรรมชาติ มีอยู่ 2 ชนิดคือ
    ก. สีที่เป็นแสง ( Spectrum ) คือ สีที่เกิดจากการหักเหของแสง เช่น สีรุ้ง สีจากแท่งแก้วปริซึม
    ข. สีที่อยู่ในวัตถุ หรือเนื้อสี ( Pigment ) คือ สีที่มีอยู่ในวัตถุธรรมชาติทั่วไป เช่น สีของพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุต่างๆ
  • 2.2 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สีที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นเอง เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การใช้สีในงานศิลปะ ทางด้านอุตสาหกรรม การออกแบบทางด้านพาณิชย์ และในชีวิตประจำวัน โดยสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ และจากสร้างขึ้นโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เคมี ที่เรียกว่า สีวิทยาศาสตร์ โดยทำเป็นผงเคมี น้ำ หรือน้ำมันเพื่อใช้ในงานต่างๆ


วงจรสี   ( Colour Circle)


 สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่   สีเหลือง สีแดง  สีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว

 สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
อีก 6  สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

 วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ
สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ

สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง
รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส
เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี

สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี
คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน
แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ
ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก
อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา

แม่สีวัตถุธาตุ (PIGMENTARY RRIMARIES) 

แม่สีวัตถุธาตุนั้นหมายถึง “วัตถุที่มีสีอยู่ในตัว” สามานำมาระบาย ทา ย้อม และผสมได้เพราะมีเนื้อสีและสีเหมือนตัวเอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แม่สีของช่างเขียนสีต่างๆจะเกิดขึ้นมาอีกมากมาย ด้วยการผสมของแม่สีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 สีคือ
1. น้ำเงิน (PRUSSIAN BLUE)
2. แดง (CRIMSON LEKE)
3. เหลือง (GAMBOGE TINT)

สีแดง (CRIMSION  LAKE) สะท้อนรังสีของสีแดงออกมาแล้วดึงดูดเอาสีน้ำเงินกับสีเหลืองซึ่งต่างผสมกันในตัวแล้วกลายเป็นสีเขียว อันเป็นคู่สีของสีแดง


สีเหลือง (GAMBOGE YELLOW) สะท้อนรังสีของสีเหลืองออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีน้ำเงินซึ่งผสมกัน ในตัวแล้วกลายเป็นสีม่วง อันเป็นคู่สีของสีเหลือง


สีน้ำเงิน (PRESSION BLUE) สะท้อนรังสีของสีน้ำเงินออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีเหลืองเข้ามาแล้วผสมกันก็จะกลายเป็นสีส้ม ซึ่งเป็นคู่สีของสีน้ำเงิน

การผสมสี วัตถุธาตุ

แม่สีวัตถุธาตุ แดง เหลือง และสีน้ำเงิน นั้น ผสมกันแล้วเกิดสีขึ้นอีกหลายสีแม่สีวัตถุธาตุ (PIGMEMPAR Y PRIMARIES) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีขั้นที่หนึ่ง
ขั้นที่ 1 คือสี
1. น้ำเงิน (PRUSSIAN BLUE)
2. แดง (CRIMSOM LEKE)
3. เหลือง (GAMBOGE TINT)
แม่สีทั้งสามถ้านำมาผสมกัน จะไดัเป็นสีกลาง (NEUTRAL TINT)
สีขั้นที่ 2 (SECONTARY HUES) เกิดจากการนำสีแท้ 2 สีมาผสมกันในปริมาณเท่ากันจะเกิดสีใหม่ขึ้นน้ำเงิน ผสม แดง เป็น ม่วง (VIOLET)
น้ำเงิน ” เหลือง ” เขียว (GREEN)
แดง ” เหลือง ” ส้ม (ORANGE)
สีขั้นที่ 3 (TERTIARY HUES) เกิดจากการผสมสีขั้นที่ 2 กับแม่ (สีขั้นที่ 1) ได้สีเพิ่มขึ้นอีกคือ
เหลือง ผสม เขียว เป็น เขียวอ่อน (YELLOW – GREEN)
น้ำเงิน ” เขียว ” เขียวแก่ (BLUE – GREEN)
น้ำเงิน ” ม่วง ” ม่วงน้ำเงิน (BLUE – VIOLET)
แดง ” ม่วง ” ม่วงแก่ (RED – VIOLET)
แดง ” ส้ม ” แดงส้ม (RED – ORANGE)
เหลือง ” ส้ม ” ส้มเหลือง (YELLOW – ORANGE)

การผสมกันของแม่สีช่างเขียนได้สีอยู่ 3 ขั้น ดังนี้

สีขั้นที่1 (Primary Color) ได้แก่

สีแดง                           สีเหลือง                สีน้ำเงิน

สีขั้นที่2 (Secondary Hues) เป็นการนำเอาแม่สีมาผสมกันในปริมาณเท่าๆ กัน จะได้สีใหม่อีก3 สี ดังนี้

สีแดง ผสมกับ สีเหลือง เป็น   สีส้ม

สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน เป็น    สีม่วง

สีเหลืองผสมกับ สีน้ำเงิน เป็น สีเขียว

 สีขั้นที่3 (Tertiary Hues)เกิดจากนำเอาแม่สีมาผสมกับสีขั้นที่2 โดยจะได้สีใหม่เพิ่มอีก6 สี ดังนี้

สีแดง     ผสม สีม่วง    เป็น สีม่วงแดง

สีแดง     ผสม สีส้ม     เป็น สีส้มแดง

สีเหลือง ผสม สีส้ม     เป็น สีส้มเหลือง

สีเหลือง ผสม สีเขียว  เป็น สีเขียวเหลือง

สีน้ำเงิน ผสม สีม่วง   เป็น  สีม่วงน้ำเงิน

สีน้ำเงิน ผสม สีเขียว  เป็น  สีเขียวน้ำเงิน

วรรณะของสี

แต่ละสีมีความหมายที่แตกต่างกัน และความหมายนี้ส่งผลต่อสิ่งที่เราเชื่อมโยงสีนั้นด้วย การใช้สีเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกที่เหมาะสม ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบตามที่ต้องการต่อสิ่งต่างๆ ในแต่ละวัน รวมถึงสิ่งที่ผู้คนซื้อ สิ่งที่พวกเขาคิด และวิธีที่พวกเขารับรู้ถึงสิ่งของหรือบุคคลนั้น หลายสีมีความหมายได้หลากหลาย ดังนั้นการเลือกเฉดสีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ


วรรณะของสี  คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ

1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน

2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น

สีเพิ่มน้ำหนักขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade)

 วรรณะสีร้อน                                      วรรณะสีเย็น

เหลืองม่วง
เหลืองส้มม่วงน้ำเงิน
ส้มน้ำเงิน
แดงส้มน้ำเงินเขียว
แดงเขียว
ม่วงแดงเขียวเหลือง

ทฤษฎีสีตรงข้าม

คือ สีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงล้อสี หรือวิธีการจับคู่ง่ายๆ ก็คือการลากเส้นจากสีหนึ่งไปตรงๆ เส้นนั้นไปบรรจบที่สีใดสองสีนั้นก็เป็นคู่ตรงข้ามกัน

ตัวอย่างของการใช้สีและความหมาย
แต่ละสีมีความหมายที่แตกต่างกัน และความหมายนี้ส่งผลต่อสิ่งที่เราเชื่อมโยงสีนั้นด้วย การใช้สีเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกที่เหมาะสม ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบตามที่ต้องการต่อสิ่งต่างๆ รวมถึงการสื่อความหมายและอารมณ์ การเลือกเฉดสีที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

สีฟ้า
ความสงบ
ความสงบ
ความสามัคคี
เชื่อมั่น
ความมั่นใจ
ความปลอดภัย
คำสั่ง
ความโศกเศร้า
ความเป็นชาย

สีเขียว
สิ่งแวดล้อม
สุขภาพ
ความเงียบสงบ
การเจริญเติบโต
ความเอื้ออาทร
อิจฉา
ความหึงหวง

สีม่วง
หรูหรา
พลัง
ความทะเยอทะยาน
ความคิดสร้างสรรค์
ความลึกลับ
มายากล

สีแดง
ความหลงใหล
รัก
ความตื่นเต้น
พลังงาน
ความมั่นใจ
ความโกรธ
ความก้าวร้าว
ไฟ
เลือด


สีชมพู
รัก
ความเป็นผู้หญิง
ความเมตตา
กระตุ้น
ผ่อนคลาย
ความไร้เดียงสา
ความตื่นเต้น


ส้ม
ความอบอุ่น
ความสำเร็จ
การกำหนด
ความตื่นเต้น
ความกระตือรือร้น
พลังงาน
สดชื่น


สีเหลือง
ความสุข
หวัง
มองในแง่ดี
จอย
คิดบวก
กระฉับกระเฉง
ความคิดสร้างสรรค์


สีเทา
ความสง่างาม
อำนาจ
ความรู้
ศักดิ์ศรี
ซึ่งอนุรักษ์นิยม
ความลึกลับ
เย็น


สีน้ำตาล
ธรรมชาติ
ความปลอดภัย
ความแข็งแกร่ง
การแยกตัว
เข้าถึงได้
โหยหา
ความน่าเชื่อถือ


สีดำ
พลัง
ความสง่างาม
ความลึกลับ
พิธีการ
กลัว
กบฏ
ละคร


สีขาว
ความบริสุทธิ์
ความไร้เดียงสา
ความดี
คิดบวก
ความปลอดภัย
ความรู้
ความสะอาด

เรียบเรียบโดย อาจารย์นุ อาร์ทมงคล

เครดิตที่มาของข้อมูล :

สารานุกรมวิกิพีเดีย : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B5

2 thoughts on “ทฤษฎีสี -Color Theory

Leave a comment