จิตรกรรมสีน้ำมัน ( OIL PAINTING )

ภาพวาดสีน้ำมัน(Oil Painting) เป็นภาพที่วาดด้วยพู่กันหรือแปรง โดยใช้สีน้ำมัน เป็นสีที่มีคุณสมบัติแห้งช้า ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพของสีที่เป็น เม็ดสีเข้มข้น และมีการทึบแสง โดยสีน้ำมันสามารถใช้ร่วมกับน้ำมันหรือน้ำยาละลายสี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเนื้อสีที่มีความแน่นสูง มีความสวยงามในแบบของสีน้ำมันที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และที่สำคัญมีความคงทนกว่าสีอื่นๆ สีน้ำมันได้รับความนิยมใน บรรดาศิลปินที่มีชื่อเสียงในอดีต นิยมนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เนื่องจากสีน้ำมันสามารถนำแต่ละสีมาผสมกันได้อย่างอิสระ แลได้สีตรงความต้องการ และที่สำคัญสามารถสร้างงานที่มีความละเอียดสูงได้

จิตรกรรมสีน้ำมัน ( OIL PAINTING ) การวาดภาพด้วยสีน้ำมัน (OIL PAINTING) พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 จนกระทั่งถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 400 ปี ซึ่งเป็นกรรมวิธีทางจิตรกรรมที่แพร่หลาย อย่างกว้างขวาง เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาได้มีสีบางชนิด เช่น สีอะคริลิค สังเคราะห์ต่าง ๆ กลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญ แต่สีน้ำมันก็ยังคงเป็นสื่อในทางจิตรกรรมที่ได้รับความนิยม แพร่หลายอยู่ดี

สีน้ำมันทำมาจากผลสีแห้ง ๆ นำมาผสมกับยางเหนียว ๆ ในจำนวนพอเหมาะ ซึ่งยาง เหนียว ๆ นี้ได้มาจากน้ำมันพืชต่าง ๆ เช่น น้ำมันลินสีด น้ำมัน อัตราส่วนการผสมกันระหว่างสี กับน้ำมันผสมสีไม่มีสูตรที่แน่นอน ซึ่งการใช้อัตราส่วนการผสมที่แตกต่างกันจะมีผลทำให้ ผิวหน้าของภาพแตกต่างกันไปด้วย เช่น อาจจะทำให้ดูสีทึบตัน ดูโปร่งใส ดูเป็นผิวมัน ดูเป็นผิวด้าน

การใช้น้ำมันมาผสมกับผงสีมีประวัติการใช้มายาวนาน เริ่มต้นตั้งแต่การใช้น้ำมันมาเป็น ส่วนประกอบของการเขียนสีฝุ่น แต่เราก็ไม่สามารถที่จะชี้เฉพาะลงไปได้ว่า การใช้น้ำมันกับสี เริ่มต้นจริง ๆ เมื่อใด ต่อมาได้มีการพัฒนามาสู่การใช้สีน้ำมันที่เป็นตัวสีน้ำมันอย่างแท้จริง ซึ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า เริ่มมาจากศิลปินชาว Flemish Quattrocento ในศตวรรษที่ 15 และอาจ กล่าวได้ว่า van Eyck เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อศิลปินหลายคน และได้แพร่ไปถึงอิตาลี โดยเฉพาะใน กลุ่มศิลปินสกุลเวนิส

จากคุณสมบัติที่คงทน มีความยืดหยุ่นได้หลายประการ สีน้ำมันได้เป็นที่นิยมสูงขึ้น เรื่อยมาไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพขนาดใหญ่ในห้อง หรือการเคลื่อนย้ายออกไปเขียนนอกห้อง โดยวิธีม้วนพับผ้าใบไป Titian (1490 – 1576) ในฐานะที่เป็นจิตรกรชั้นปรมาจารย์ของเวนิส มีบทบาทที่ สำคัญต่อการพัฒนาทางด้านกรรมวิธีและความเป็นไปได้ต่อการเขียนภาพสีน้ำมัน ศิลปินกลุ่มสกุลช่างเวนิช กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้วางรากฐานในการเขียนภาพสี น้ำมัน ศิลปีนอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนทำให้การเขียนภาพสีน้ำมันแพร่หลาย คือ Rubens (1577 – 1640)

ซึ่งผลงานของเขาแสดงลักษณะของสีน้ำมันได้อย่างแท้จริงและสมบูรณ์แบบ วิธีการเขียนภาพ ของ Rubens เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากในการเขียนภาพสีน้ำมัน เขาประสบ ความสำเร็จในการเขียนภาพและการทำงานอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน และได้วางกฎเกณฑ์ทาง จิตรกรรมสีน้ำมัน จนจิตรกรอีกหลายรุ่นต่อมา ก็ยังคงใช้วิธีการที่ Rubens กำหนดเอาไว้

ในสมัยศตวรรษที่ 18 สีน้ำมันได้มีการผลิตตลอดออกจำหน่ายในลักษณะเตรียมสี สำเร็จรูปบรรจุในถุงหนัง และใช้ต่อมาจนถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หลอดสีที่ผลิตจากดีบุกบรรจุ สีสำเร็จรูปได้ออกจำหน่ายในท้องตลาด จนยังคงลักษณะนี้จนถึงปัจจุบัน

ในตันศตวรรษที่ 20 ผลงานสีน้ำมันของกลุ่ม Post – Impressionist ใช้วิธีการเขียนที่ แปลกประหลาดไปจากศิลปินกลุ่มอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน เช่น การโปะป้ายสีหนา ๆ ของ Van Gogh ( 1853 – 90) หรือผสมสีระบายในภาพของ Gauguin (1848 – 1903) แต่ทั้งวิธีการใช้ สีและกรรมวิธีในการระบายสีของศิลปินทั้งสองนี้กลับมีอิทธิพลอย่างสูงต่อผลงานจิตรกรรมสี น้ำมันในยุคศตวรรษที่ 20 ช่วงต่อ ๆ มา

ตั้งแต่ยุค Impressionism เป็นต้นมา สีน้ำมันได้มีขายเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง และมีการ ผลิตจำนวนสีให้เลือกใช้มากมาย หลังจากที่มีการแต้มสีหนา ๆ แบบ Impasto ของ Van Gogh ก็ได้มีผลงานของกลุ่ม Expressionist และ Abstract-Expressionist คลี่คลาย การใช้สีน้ำมัน โดยการปาสี, หยอดสี หยดสี ลงไปบนระนาบรองรับอย่างอิสระ ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่หักเหแนวความคิดในการ ใช้สีน้ำมันจากแบบเก่า ๆ ไปสู่แนวทางใหม่

พื้นระนาบสำหรับสีน้ำมัน(SURFACES)

ผ้าใบ (Canvas )
ผ้าใบเมื่อนำมาขึงให้ตึงบนกรอบไม้สี่เหลี่ยม จะมีคุณสมบัติยืดหยุ่นตัวดีและ เหมาะสมสำหรับการระนาบสีน้ำมันลงไป

ผ้าใบสำหรับงานสีน้ำมัน การทดผ้าจากผ้าฝ้าย, ผ้าลินิน, หรือทอผสมกัน
ระหว่างผ้าฝ้ายกับผ้าลินิน ผ้าใบลินินแท้เป็นผ้าใบที่ดีที่สุด แต่มีราคาค่อนข้างแพง ผ้าใบลินิน

ผ้าใบลินินชนิดราคาถูกก็ใช้ได้ แต่จะมีปุ่มปมของด้านบนเนื้อผ้าและการทอ ค่อนข้างหยาบ จึงต้องลงพื้นให้ดีเป็นพิเศษ อาจจะใช้กระดาษทรายช่วยลูบเบา ๆ ด้วยก็ได้ ผ้าฝ้ายส่วนใหญ่จะขึงตึงได้ไม่ค่อยดี และไม่ดูดสีรองพื้นได้ดีเท่ากับผ้าลินิน ถ้าเป็นภาพเขียนขนาดเล็กควรเลือกใช้ผ้าใบที่ทอด้วยฝ้าย เพราะผิวของผ้าเรียบ แต่ถ้าเป็นภาพเขียนที่ใหญ่ เช่น ประมาณ 12 ตารางฟุต ควรเลือกใช้ผ้าใบลินิน เพราะจะ ยืดหย่อนตัวได้น้อยกว่าผ้าฝ้าย สำหรับผู้ที่ชอบเขียนสีหนา ๆ หรือแสดงรอยฝีแปรงผ้าใบที่ทอ
ด้วยลินินดูจะเหมาะสมกว่ามาก

วิธีที่ง่ายและสะดวกที่ศิลปินหรือผู้เรียนศิลปะนิยมกันมากคือ การซื้อผ้าใบที่รอง พื้นสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งขึงบนกรอบไม้เรียบร้อย ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่าย มีให้เลือกหลาย ขนาด แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ราคาแพง และเป็นการขาดประสบการณ์ส่วนตัวในการทำเฟรม

แผ่นไม้ ( Plywood) แผ่นไม้เป็นวัสดุที่ค่อนข้างจะยุ่งยากในการใช้ เพราะไม่สามารถดูดซึมสีและ น้ำมันได้ดี แห้งช้า บางครั้งอาจจะโค้งงอและแตกได้ การเลือกแผ่นไม้มาใช้เขียนสีน้ำมัน จะต้อง เลือกไม้แก่ที่อบแห้งอย่างดีจากโรงงาน และควรจะมีความหนาอย่างน้อย 1 นิ้ว ก่อนที่จะนำแผ่น ไม้ไปใช้ควรดามไม้ไว้ด้านหลัง 2 ตัว เพื่อป้องกันการบิดงอของแผ่นไม้ แผ่นไม้ที่ดีที่สุดคือไม้ มอฮอกกานี

แผ่นไม้อัด ( Metal )
เนื่องจากแผ่นไม้กระดาน มีราคาแพงมาก จึงใช้ไม้อัดแทนได้ ไม้อัดที่ใช้ควร เป็นขนาดหนา 6 มม. ขึ้นไป โดยลงพื้นบนแผ่นไม้อัด เช่นเดียวกับลงบนผ้าใบ หรือใช้ผ้าใบผนึก ด้วยกาวติดบนแผ่นไม้อัดแล้วลงพื้นบนผ้าใบ แผ่นโลหะ ( Metal ) ศิลปินชาว Dutch นิยมใช้แผ่นทองแดงเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะในยุคของ Van Eyck แต่นิยมเขียนเป็นภาพขนาดเล็กที่ใช้ความระมัดระวังและเก็บรายละเอียดมาก บางครั้งนำไปใช้เป็นเครื่องประดับร่างกายได้ การเตรียมพื้นแผ่นโลหะก็เพียงใช้กระดาษทราย ขัดผิวโลหะก็สามารถกาะจับกับสีน้ำมันได้

กระดาษ ( Paper )
กระดาษแข็งชนิดหนาที่สุด สามารถนำมาลงสีรองพื้นแล้วใช้เขียนภาพสีน้ำมัน ได้เช่นกัน ถึงแม้จะไม่ทนทานมาก แต่ก็เหมาะสำหรับการทำงานบางโอกาส เช่น งานศึกษา คันคว้า, งานสเก็ตซ์, งานนอกสถานที่, งานสำหรับนักศึกษาฝึกหัด

การขึงผ้าใบ (Stretching a canvas )

1.นำท่อนไม้ทั้ง 4 ท่อนมาต่อให้เป็นกรอบไม้สี่เหลี่ยม ซึ่งมีวิธีเข้ามุมได้หลายวิธี

2.ใช้เหล็กฉากวัดตรวจดูมุมต่าง ๆ ให้ได้มุม 90 องศา ทั้ง 4 มุม โดยใช้เศษไม้อันเลื่อย เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากตอกติดที่มุมของกรอบไม้ทั้ง 4 มุม ทั้งนี้อาจจะใช้เหล็กรูปตัว L ยึดมุม แทนไม้อัดก็ได้

3.สำหรับงานที่มีขนาดใหญ่ ควรใช้ไม้ความช่วงกลางของกรอบไม้ เพื่อป้องกันการบิดหรือ คด และการแอ่นของกรอบไม้ เนื่องจากแรงดึงของผ้าใบ ตัดผ้าใบให้ใหญ่กว่ากรอบไม้ ด้านละประมาณ 11/ , – 2 นิ้ว

4.เริ่มขึงผ้าใบบนกรอบไม้ โดยใช้ที่ยิง ยิงไปที่จุดกึ่งกลางของด้านทั้ง 4 จะสังเกตได้ว่า จุดที่เริ่มตึงที่สุดคือส่วนกลางของผ้าใบ

5.ใช้ที่ยิงและดีมดึงผ้าใบขึงต่อไปจนสุดที่มุมทั้ง 4

6.พับมุมผ้าใบยิงเก็บให้เรียบร้อย
(ในกรณีที่ต้องการถอดผ้าใบม้วนเก็บเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ควรใช้ตะปูสั้นตอก แทนการใช้ที่ยิ่ง โดยตอกไม่ให้จมมิดเกินไปเพื่สะดวกต่อการถอนตะปูออก)

การรองพื้น (Size and Ground )

การรองพื้นผ้าใบที่จะใช้เขียนภาพสีน้ำมันเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อการระบาย สี ความคงทนของสี และความไม่เปลี่ยนแปลงของสี การรองพื้นผ้าใบจำเป็นต้องทำ 2 ขั้นตอน คือ

1. การรองพื้นชั้นที่ 1 หรือกาวรองพื้น (size)

2. การรองพื้นชั้นที่ 2 หรือสีรองพื้น ( ground )

  1. การรองพื้นชั้นที่ 1 หรือกาวรองพื้น (Size) พื้นระนาบต่าง ๆ โดยเฉพาะผ้าใบควรจะมีการรองพื้นในชั้นที่ 1 เพื่อเป็นชั้นตัวกัน ไม่ให้น้ำมันจากสีหรือจากการรองพื้นครั้งที่ 2 ซึมเข้าไปถึงเนื้อผ้าใบ กรเตรียมรองพื้นใน ที่ 1 ที่ง่ายที่สุดคือ การใช้กาวผสมกับน้ำให้เหลวพอประมาณ แล้วทาเคลือบผิวหน้าของผ้าใบ
  2. การรองพื้นชั้นที่ 2 หรือสีรองพื้น ( Ground )
    หลังจากที่ลงกาวรองพื้นไปแล้วชั้นหนึ่ง ขั้นตอนต่อไปในการเตรียมพื้นสำหรับสี น้ำมันคือการลงสีรองพื้น สีรองพื้นจะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมันซึมเข้าไป ถึงเนื้อผ้าใบ หรือระนาบรองรับอื่น ๆ และช่วยให้สีน้ำมันเกาะติดได้ดี การลงสีรองพื้นมีหลายวิธี ดังตัวอย่างต่อไปนี้

2.1 Oil ground เป็นวิธีการลงรองพื้นผ้าใบที่ดีที่สุด มีส่วนผสมโดยน้ำหนัก ของน้ำมันสน 6 ส่วน : น้ำมันลินสีด 1 ส่วน : สีขาว ( White lead หรือ Flake white ) ทา ทับกัน 2 ครั้ง แล้วทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 1 – 11/ เดือน

2.2 Gesso ground เกสโซมีขายเป็นชนิดบรรจุกระป้อง แต้ถ้าต้องการจะ เตรียมเองก็ใช้ส่วนผสมโดยน้ำหนักของผงสีขาว ( Whiting ) 1 ส่วน : กาว ( Glue size ) 1 ส่วน เวลาใช้ผสมน้ำให้เหลวพอประมาณ ทาทับกัน 2 – 3 ครั้ง

2.3 Emulsion ground เป็นส่วนผสมโดยน้ำหนักของกาว ( glue size ) ส่วน : น้ำมันลินสีด 12 ส่วน : ผงสีขาว ( Whiting ) 1 ส่วน : Zinc oxide 1 ส่วน ข้อดีของการรองพื้นแบบนี้คือ แห้งเร็ว โดยใช้เวลาทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน ก็ใช้ เขียนภาพได้

2.4 Acrylic ground สีของพื้นอะครีลิคสามารถนำมาใช้กับงานสีน้ำมันได้ การรองพื้นแบบนี้อาจจะทำได้โดยไม่ต้องลงพื้นกาวก่อน และช่วยให้ภาพเขียนมีความหนาแน่น ไม่เกิดรอยแตกร้าวหรือไม่เกิดการผิดเพี้ยนของสี Acryic ground มีขายเป็นแบบสำเร็จรูป บรรจุกระป้อง หรือถ้าต้องการจะเตรียมเองก็ทำได้โดยใช้ Acryic medium ผสมกับ Titanium white

2.5 การรองพื้นโดยใช้สีพลาสติก ก็เป็นวิธีที่ง่าย เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาใช้ ถึงแม้ความคงทนจะมีไม่มาก แต่ก็มีราคาถูก วิธีของพื้นควรผสมสีพลาสติกสีขาว กับน้ำให้เหลวพอประมาณ แล้วทาประมาณ 2 – 3 ชั้น สีพลาสติกใช้เวลาแห้งตัวประมาณ 2- 4 ชั่วโมง

น้ำมันผสมสีน้ำมัน (MEDIUMS)

น้ำมันผสมสี คือ น้ำมันที่สามารถรวมตัวกับสี ทำให้ระบายสีได้ง่ายขึ้น เมื่อน้ำมันระเหย แห้งไป ก็จะคงเหลือเฉพาะเนื้อสีติดอยู่บนระนาบรองรับ น้ำมันผสมสีที่นิยมใช้ คือ น้ำมันลินสีด ( Linseed oil ) , Poppy oil , Walnut oil , และน้ำมันอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติแห้งเร็ว ๆ

สี (PAINTS )

โรงงานโดยทั่วไปจะผลิตสีน้ำมันออกจำหน่ายอย่างน้อย 2 ระดับ ชนิดที่มีเครื่องหมาย กำกับว่า ” Artists ” หรือสีสำหรับศิลปินจะมีคุณภาพดีเชื่อถือได้ ส่วนอีกระดับหนึ่งที่บางครั้งจะ กำกับไว้ว่าเป็น ” Students” แต่ถ้าไม่กำกับไว้ก็จะมีเฉพาะชื่อยี่ห้อเท่านั้น สีระดับหลังนี้จะมี ราคาถูกกว่าชนิดแรกและโดยทั่วไปจะมีคุณภาพต่ำกว่า

การทำสี ( Making paint ) สีที่ทำมาจากโรงงานมีขายแบบสำเร็จรูปตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป แต่ บางครั้งความขันเหนียวของสีในหลอดก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ ในสีราคาถูก บางครั้งจะมีน้ำมันเยิ้มมากเกินไปเพราะทางโรงงานบรรจุไว้มากเพื่อป้องกันสีแห้งความขันเหลว ของสีจึงไม่มีมาตรฐานแน่นอนทำให้ศิลปินบางคนต้องบดสีใช้เอง

การจัดกลุ่มสีน้ำมัน ( Oil colors )
เนื่องจากสีน้ำมันมีสีจำแนกออกเป็นจำนวนมากมาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจและ ง่ายต่อการเลือกใช้จึงขอจัดกลุ่มสีน้ำมันออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มสีขาว ( Lead white, Flake white, Zinc white, Titanium white )

กลุ่มสีแดงและสีม่วง ( Rose madder, Alizarin crimson, Cadmium red, Vermilion, Ultramarine red, Caput mortuum, Mare violet Ultramarine violet )

กลุ่มสีเหลือง ( Ochre, Naples yellow , Cadmium yellow, chrome yellow , Yellow lake, Raw sienna, Zinc yellow )

กลุ่มสีน้ำเงิน ( Ultramarine blue, Cobalt blue, Cerulean blue, Prussian blue, Monastral blue, Prussian blue

กลุ่มสีน้ำตาล ( Burnt sienna, Raw umber, Burnt umber, Cassel brown, Prussian brown )

กลุ่มสีเขียว ( Oxide of chromium, Emerald green, Ultramarine green, Monastral green )

กลุ่มสีดำ ( Vine black, Lamnp black , Bine black ) จากการจัดกลุ่มสีที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่ามีสีจำนวนมากมาย ซึ่งการใช้สี อาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อมาทั้งหมด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความชอบของผู้ใช้เอง อย่างไร ก็ดีตารางสีข้างล่างนี้จะเป็นการเสนอแนะชื่อสีที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เริ่มตันศึกษา และมี ทุนทรัพย์น้อย

วัสดุอุปกรณ์สีน้ำมัน ( EQUIPMENT )

  1. พู่กัน ( Erushes )
    1.1 พู่กันขนอ่อน ( sable brush ) ทำมาจากขนสัตว์เซเบิลสีแดง ตามปกติจะเป็น คู่กันแบบใช้ในการระบายผสมผสานสีเข้าด้วยกัน หรือระบายสีเพื่อให้ได้รอย เรียบ
    1.2 พู่กันขนแข็ง ( Briste brush ) ทำมาจากขนหมูชนิดแข็งที่ฟอกแล้ว ซึ่งถือว่า เป็นพู่กันที่เหมาะสมและใช้ได้ดีที่สุดในงานเขียนภาพสีน้ำมัน นิยมใช้พู่กัน ขนแข็งระบายหรือเกลี่ยสีให้กลมกลืน และจะมีริ้วรอยพู่กันเบา ๆ บนผิวหน้า ลักษณะรูปร่างของพู่กันสีน้ำมัน มีดงนี้ -Eright พู่กันขนสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม เหมาะสำหรับระบายสีที่ขันและหนา ใช้ สำหรับพื้นที่ใหญ่ ๆ -Round พู่กันกลม ขนของพู่กันจะรวมกันแหลมที่ปลาย ใช้ระบายแตะแต้มในพื้นที่ เล็ก ๆ เพื่อเก็บรายละเอียด หรือในส่วนที่ต้องการระบายเนื้อสีที่บาง ๆ -Filbert พู่กันแบนที่มีปลายขนค่อย ๆ กลมมน มีประโยชน์สำหรับทำรอยป้ายสีที่ -Flat พู่กันแบน มีลักษณะคล้ายกับพู่กัน Bright แต่ขนพู่กันยาวกว่า เหมาะสำหรับ ระบายสีในบริเวณพื้นที่กว้าง ๆ -Chisel – edge พู่กันแบบปลายตัดคนคล้ายปลายสิ่ว ใช้สำหรับตัดขอบตัดมุมหรือ ตัดเส้นตรง -Badger blender มีรูปร่างคล้าย ๆ กับแปรงทาครีมโกนหนวด ใช้เกลี่ยสีเปียกให้ ซึมผสมเข้าหากัน
    -Fan brush พู่กันรูปพัด ใช้สำหรับแต้มแตะและเกลี่ยสีเปียกจะให้ลักษณะสีที่ผสม อย่างนุ่มนวล และกลมกลืนกันมาก

  1. เกรียง ( Palette Knife and Painting knife)

เกรียงสำหรับงานสีน้ำมัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ
-เกรียงผสมสี (Palette Knife)
-เกรียงระบายสี ( Painting Knife )

  1. จานสี ( Palette )
    จานสีรูปไตทำด้วยแผ่นไม้มีรูสำหรับสอดนิ้วหัวแม่มือถือจานสี แบบนี้มีประโยชน์สำหรับ การเขียนภาพบนผ้าใบขนาดใหญ่บนขาหยั่ง เพราะสามารถถือจานสีไปมาได้สะดวก ส่วนการ เขียนภาพภายในห้องอาจจะใช้จานสีที่มีขนาดใหญ่วางอยู่กับที่ก็ได้ เช่น แผ่นหินอ่อน, แผ่น กระจก, แผ่นพลาสติก, แผ่นโลหะ หรือแผ่นไม้

  1. กระบวยใส่น้ำมัน ( Dipper ) กระบวยหรือกระป้องเล็ก ๆ ออกแบบมาสำหรับติดบนขอบของจานสี ใช้ใส่น้ำมัน

  1. ขาหยั่ง ( Essel ) ขาหยั่งมีหลายขนาดหลายแบบให้เลือก ตั้งแต่ขนาดใหญ่โตสำหรับใช้ในห้อง ปฏิบัติงานศิลปะสามารถปรับความสูงและความเอียงลาดได้ จนถึงขนาดน้ำหนักเบาทำด้วย อลูมิเนียมซึ่งสามารถพับหิ้วเคลื่อนที่ได้โดยสะดวก ขาหยั่งที่ใช้ในสถานศึกษาศิลปะจะต้องมีจำนวนมาให้เพียงพอกับจำนวนผู้เรียน ดังนั้น การออกแบบขาหยั่ง นอกจากเรื่องประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงการเก็บซ้อน กันแบบประหยัดเนื้อที่ด้วย
  2. โต๊ะทำงาน ควรมีโต๊ะทำงานอยู่ใกลั กับขาหยั่งเพื่อที่จะวางสิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ โต๊ะ ทำงานนี้ยังใช้เป็นที่ปรึกษา คันคว้า สเก็ตซ์งาน และจะเป็นการดีถ้าโต๊ะทำงานมีลิ้นชักสำหรับ เก็บของ
  3. กล่องใส่อุปกรณ์ กล่องใส่อุปกรณ์ ควรเลือกซื้อชนิดที่เป็นโลหะเพราะมีความทนทาน นอกจากจะใช้ ประโยชน์สำหรับเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว ยังสะดวกในกรณีที่จะใส่ของออกไปเขียนรูปนอก สถานที่ด้วย นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีสิ่งเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีก เช่น สมุดสเก็ตซ์ ดินสอกระป้อง แก้ว โหลใส่น้ำมันล้างสี เศษผ้าเช็ดพู่กัน กระดาษชำระ ฯลฯ
  4. อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็ยังมีสิ่งเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีก เช่น สมุดสเก็ตซ์ ดินสอกระป้อง
    แก้ว โหลใส่น้ำมันล้างสี เศษผ้าเช็ดพู่กัน กระดาษชำระ ฯลฯ

กรรมวิธีการเขียนภาพสีน้ำมัน (TECHNIQUES)

ในระดับพื้นฐาน เราอาจจะกล่าวได้ว่าภาพเขียนสีน้ำมันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

๑)ภาพเขียนสีน้ำมันชนิดเก็บละเอียด ภาพเขียนชนิดนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในการ ลงสี ศิลปินหรือช่างเขียนจะต้องมีความอุตสาหะสูง ภาพเขียนแต่ละภาพใช้เวลาเขียนนาน โดย การค่อย ๆ แต่งแต้มสีบาง ๆ ลงไปบนผ้าใบ

๒)ภาพเขียนสีน้ำมันชนิดลงสีเร็ว ภาพเขียนชนิดนี้ช้วิธีลงสีลงไปโดยตรง มีชื่อ เรียกว่า Alla prima การเขียนภาพจะเสร็จสมบูรณ์โดยลงสีเพียงครั้งเดียว และนิยม ใช้สีทึบแสง ซึ่งจะปิดทับสีชั้นล่างได้หมด ใช้เวลาเขียนที่รวดเร็ว สะท้อนให้เห็น บรรยากาศในเวลานั้นและใช้การป้ายสีด้วยรอยพู่กันที่รุนแรง

กรรมวิธีการเขียนภาพสีน้ำมัน ( Techniques)

กรรมวิธีการเขียนภาพสีน้ำมันมีหลายวิธีแต่จะขอกล่าวถึงเฉพาะวิธีที่สำคัญ ๆ และแสดงลักษณะเด่นที่ชัดเจนดังต่อไปนี้

-Alla prima จิตรกรส่วนใหญ่ที่เขียนภาพสเก็ตซ์ทิวทัศน์แล้วนำมาเขียน เป็นภาพจริงในห้องทำงานภายหลัง มักจะใช้วิธีสเก็ตซ์แบบ Alla prima โดยสีจะถูกระบายลงไป บนระนาบรองรับอย่างอิสระและดูตื่นเต้น ความสดของสีสามารถที่จะจับบรรยากาศของช่วงเวลา และถ่ายทอดความรู้สึกในขณะนั้น

-การร่างภาพ การเขียนภาพสีน้ำมันโดยทั่วไปจะต้องเริ่มต้นด้วยภาพร่าง อย่างง่าย ๆ เพื่อให้เป็นเค้าโครงของภาพ เส้นร่างภาพอาจจะใช้ดินสอ , ถ่านเขียนลงบนพื้น ระนาบรองรับ ซึ่งสามารถระบายทับด้วยสีทึบแสงในภายหลัง หรือเมื่อร่างภาพด้วยดินสอเสร็จ แล้วอาจจะใช้สีบาง ๆ ใส ๆ ทาเคลือบภาพให้ทั่ว ซึ่งวิธีหลังนี้จะมองทะลุไปเห็นเส้นร่างได้

-การลงสีขั้นต้น ( Underpainting) ไม่ว่าภาพร่างจะถูกเขียนลงไปบน ระนาบรองรับหรือไม่ก็ตาม กรรมวิธีที่จะละทิ้งไปไม่ได้คือ วิธีการ Underpainting ซึ่งเป็นการลง สีเบื้องตันในการกำหนดวรรณะ และน้ำหนักของภาพ ในขั้นต้นของการลงสีแบบนี้ ควรใช้สีเพียง 1 – 2 สี และระบายอย่างบางมาก โดยสีจะต้องผสมด้วยน้ำมันผสมจำพวกลินสดน้อย แต่ใช้ น้ำมันและลายสีจำนวนน้ำมันสนมาก ๆ และใช้พู่กันขนาดใหญ่ในการระบายสี

-การระบายสีหนา ( Impasto) การระบายสีหรือป้ายสีหนา ๆ ลงไปบน ระนาบรองรับด้วยเกรียง กรรมวิธีนี้จะให้ลักษณะพื้นผิวที่ดูหยาบเป็น 3 มิติ

-ระบายสีทับซ้อนกัน ( Scumoling) เป็นกรรมวิธีการใช้สีทึบแสงสีอ่อน ระบายทับลงบนสีทึบแสงเข้มในลักษณะที่สีชั้นล่างที่ลงไว้อย่างไม่เรียบสม่ำเสมอกัน แล้วทิ้งไว้ ประมาณ 3 อาทิตย์ จึงลงสีอ่อนเคลือบทับจะเกิดสีปิดทับกันบางส่วน และสีชั้นล่างบางส่วนก็เล็ด ลอดออกมาให้เห็นในร่องรอยที่แหว่ง ๆ

การเคลือบภาพ (/ Varnishing a finished painting )

ความจริงการเคลือบภาพไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับงานสีน้ำมัน เพราะสีน้ำมันจะ ค่อยมัวหมองลงไป ถ้าเราแขวนหรือเก็บให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและมีการเอาใจใส่ดูแล นอกจากนี้น้ำมันเคลือบภาพ จะทำให้ภาพเขียนออกเป็นสีเหลือง ไปตามอายุได้เร็วขึ้น แต่ข้อดี ของการเคลือบภาพก็มีคือ อาจจะช่วยป้องกันภาพเขียนจากสิ่งไม่บริสุทธิ์ต่าง ๆ ในอากาศที่จะ ทำให้ผิวหน้าของภาพแตกร่อนหรือสีเปลี่ยนไป และการเลือบภาพยังช่วยทำให้สีในภาพดูสดใสขึ้น การเคลือบภาพเหมาะสำหรับงานที่มีลักษณะผิวหน้าเป็นสีหนาหรือไม่เรียบ

การเคลือบภาพควรจะกระทำหลังจากเขียนภาพเสร็จและทิ้งให้แห้ง 3 – 6 เดือน แต่ถ้าเป็นการเขียนสีหนาควรใช้เวลาให้สีแห้งก่อนจะเคลือบภาพอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป

น้ำมันเคลือบภาพที่ดีที่สุดคือ ชนิด Soft resin spirit vaish ถ้าต้องการให้ผิว เป็นมันให้ใช้ Damar หรือ Mastic ถ้าต้องการให้ผิดกึ่งด้านใช้ Wax varnish แต่โดยทั่วไปช่าง เขียน มักจะใช้แลคเกอร์สเปรย์ฉีดเคลือบภาพซึ่งให้ผลในแง่ความสะดวก แต่ความทนทานถาวร มีไม่นากนัก การเคลือบภาพที่ดีควรใช้แปรงหรือพู่กันใหญ่ระบายน้ำมันเคลือบให้บางที่สุด ปัดแปรงไปมาได้ทุกทิศทาง และหยุดปัดทันทีเมื่อเห็นว่าไม่มีร่องรอยของแปรงแล้ว

Credit :

ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารการสอนวิชาศิลปะ บทที่ 9 จิตกรรมสีน้ำมัน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

URL : ru.ac.th

รูปภาพ : Google Image Search Thumbnail

Leave a comment