ทัศนศิลป์-Visual Arts

ทัศนศิลป์ (Visual Arts) คือ แนวคิดที่ทำให้ปรากฏสิ่งที่ทำให้เกิดภาพโดยใช้วิธีทางศิลปะ เพื่อสามารถแสดงออกให้เห็นทางสายตาหรือ การมองเห็น, เช่น ภาพวาด, จิตรกรรม, ภาพถ่ายและภาพยนตร์.หรืออาจจะเรียกว่าการถ่ายทอดศิลปะ โดยใช้ภาพนั้นเอง โดยภาพในที่ไม่จำกัดว่าจะเป็นภาพที่เป็นรูปภาพอย่างเดียว การนำสิ่งที่ทำให้ปรากฏภาพทั้งหมดก็ถือเป็นทัศนศิลป์ได้

โดยการถ่ายทอดนั้น จะต้องมีกระบวนการ แนวคิด วิธีการที่จะถ่ายทอดและนำเสนอ ผบงานทางศิลปะนั้น อย่างมีแบบแผน โดยใช้จินตนาการ หรือความคิดสร้างสรรค์

ทัศนศิลป์ในแง่ของผู้ชม หรือผู้ที่รับการสื่อสารผ่านงานศิลปะ โดยการรับรู้ทางจักษุประสาท หรือตา โดยการมองเห็น วัตถุที่เป็นผลงานนั้น แล้วก่อให้เกิดปัจจัยสมมติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มีขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับทัศนคติ และอารมณ์ของบุคคลในขณะมองเห็น งานทัศนศิลป์นั้น

แนวคิดเกี่ยวกับทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์มีแนวคิดและที่มาดังนี้

  1. 1ศิลปะ คือ การเลียนแบบ (Art as Imaitation)
    ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยมีพื้นฐานความคิดมาจากเพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือว่าการเลียนแบบวัตถุธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน จัดว่าเป็นสิ่งสวยงามที่สุด ดังนั้นความคิดแก่นของทฤษฎีนี้ การเลียนแบบวัตถุธรรมชาติอะไรบางอย่าง การเลียนแบบที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติให้ออกมาปรากฏเป็นภาพ หรือผลงาน ก็คือศิลปะ นั่นเอง
  2. ศิลปะ คือ ความพึงพอใจ (Art as Pleasure)
    ทัศนะนี้มองว่า ศิลปินคือบุคคลซึ่งพึงพอใจในความงามและใช้เวลาของเขาสร้างสิ่งสวยงาม ศิลปินจึงพึงพอใจในงานของตัวเอง และยังหวังให้บุคคลอื่นพึงพอใจในผลงานของตนด้วย ดังนั้น ความหมายของศิลปะก็คือ การให้ความพึงพอใจทางสุนทรียภาพ ด้วยการทำให้มองเห็น (Visual Art Pleasure)
  3. ศิลปะคือการเล่น (Art as Play)
    ความคิดที่ว่า ศิลปะคือรูปแบบของการเล่นนี้ เริ่มจากแนวคิดของ คานต์ (Kant) จากนั้นชิลเลอร์ (Schiller) นำมาปฏิบัติ และสเปนเซอร์ (Spencer) นำไปพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นทฤษฎีที่เรียกกันว่า “Spieltrieb” หรือเรียกว่า ทฤษฎีแรงกระตุ้นให้เล่น ทั้งนี้ การเล่นนั้นถือว่าเป็นการแสดงออกที่เกิดจากชีวิตจิตใจจริงต่างไปจากกิจกรรมที่เป็นงาน (Work) ของมนุษย์แต่ให้ความพึงพอใจสูง
    สเปนเซอร์ ถือว่า ศิลปะคือการแสดงออกของพลังงานส่วนเกินเช่นเดียวกับการเล่น ศิลปะก็คือการแสดงออกซึ่งเกิดขึ้นเองของพลังที่สำคัญแก่ชีวิต ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ อาจกล่าวได้ว่า คือการปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ภายในออกมาสู่งานศิลปะเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ ก็ได้
  4. ศิลปะ คือ อันตรเพทนาการ (Art as Empathy)
    อันตรเพทนาการ หมายถึง ท่าทีของประสาทที่รู้สึกคล้อยตามซึ่งเกิดกับผู้กำลังชมศิลปวัตถุ ทั้งนี้ อันตรเพทนาการเป็นการสร้างจินตนาการของผู้ชมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับศิลปวัตถุ โดยการถ่ายทอดความรู้สึกและการตอบสนองของผู้ชมลงไปในศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเทคนิคและวิธีการของผู้สร้างผลงาน
  5. ศิลปะ คือ การสื่อสาร (Art as Communication)
    นักปราชญ์จำนวนมากคิดว่า การสื่อสารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แท้จริงแล้วเป็นหัวใจของศิลปะ ซึ่ง เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) กล่าวไว้ว่า
    “…..ศิลปะ คือการสื่อสารของอารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่มีอารมณ์อย่างเดียวกัน โดยการใช้เส้น สี เสียง การเคลื่อนไหว หรือคำพูด อารมณ์ยิ่งรุนแรงเพียงใด ศิลปะก็ยิ่งดีเพียงนั้น…” อาจจะสรุปได้ว่า ศิลปะ เป็นการสื่อสารสิ่งที่ตนเองคิดอยู่ภายในให้กับคนที่มีหัวอกเดียวกัน หรือคนที่มีแนวคิดนั้นได้รับรู้ ก็เป็นไปได้
  6. ศิลปะ คือ การแสดงออก (Art as Expression)
    ทฤษฎีนี้ถือว่า วัตถุประสงค์ของศิลปะอยู่ที่ถ่ายทอดอารมณ์ภายในของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏออกมา ผ่านทางภาพให้ปรากฏ หรือบางทีอาจจะเป็นทัศนคติ มุมมอง แนวคิดที่อยู่ภายในใจของผู้ถ่ายทอดก็เป็นได้
  7. ศิลปะ คือ คุณลักษณะของประสบการณ์ (Art as a Quality of Experience)
    จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กล่าวว่า ศิลปะคือคุณลักษณะซึ่งแหรกอยู่กับประสบการณ์ ซึ่งพบได้ในประสบการณ์ทั่วไปของเรานี่เอง ลักษณะทางสุนทรีมีอยู่ในประสบการณ์ทั่วไปทั้งหมด การออกแบบ(Design) คือ ศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ คือ 1. ความสวยงาม 2.มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี 3.มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี

รูปแบบของทัศนศิลป์

ได้อธิบายความหมายของทัศนศิลป์มาแล้วข้างต้นโดยสรุป ทัศนศิลป์คืองานแสดงออกถึงผลงานที่ให้ปรากฏด้วยสายตายโดยมีรูปแบบหรือประเภทตามง

จิตรกรรม(Painting) คือการวาดภาพ หรือเขียนภาพ

จิตรกรรม(Painting) คือ การสร้างผลงานศิลปะ โดยการวาด ขีด เขียน แต้ม ถู ระบาย สลัด พ่น ลงบนพื้นระนาบเกิดเป็นภาพ ลักษณะงานจะเป็นแบบ 2 มิติ ผู้ที่ทำงานด้านนี้เรียกว่า จิตรกรหรือศิลปิน ผลงานด้านจิตรกรรมแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. แยกตามวัสดุและเทคนิคที่ใช้ เช่น จิตรกรรมสีเทียน จิตรกรรมสีน้ำ จิตรกรรมสีน้ำมัน จิตรกรรมสีฝุ่น จิตรกรรมสีอะคริลิค จิตรกรรมสีโปสเตอร์ จิตรกรรมสื่อผสม

2. แยกตามเรื่องราวของภาพ เช่น จิตรกรรมหุ่นนิ่ง จิตรกรรมภาพคนเต็มตัว จิตรกรรมภาพคนครึ่งตัว จิตรกรรมภาพสัตว์ จิตรกรรมภาพทิวทัศน์ จิตรกรรมทะเล หรือภูเขาเป็นต้น จิตรกรรมสิ่งก่อสร้าง

3. แยกตามตำแหน่งที่ตั้ง เช่น จิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมบนภาชนะ จิตรกรรมบน ถนนนอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆตามยุคสมัยและค่านิยม หรือ Trending

ภาพพิมพ์(Printing)

การทำให้ปรากฏด้วยการพิมพ์ลงวัสดุต่างๆ

ศิลปะภาพพิมพ์ ( PRINTMAKING ) ศิลปะภาพพิมพ์ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็น ผลงานที่มีลักษณะเหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมี จำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการ วาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถสร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมาชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้นจึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ทำให้การพิมพ์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

ศิลปะภาพพิมพ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์

2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป

3. สีที่ใช้ในการพิมพ์

4. ผู้พิมพ์(printer)

แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ

4.1 แม่พิมพ์ผิวนูน (Relief Process) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูนขึ้นมาของแม่พิมพ์ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง( LINO-CUT ) ตรายาง( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุ

4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก (Intag lio Process) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลงไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ (แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพังานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์ งานที่เป็นศิลปะและธนบัตร

4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ (Planographic Process) เป็นการพิมโดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน(LITHOGRAP H) การพิมพ์ออฟเซท (OFFSET)ภาพพิมพ์กระดาษ (PAPER-CUT) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว (MONOPRINT)

4.4 แม่พิมพ์ฉลุ (STENCIL PROCESS) เป็นการพิมโดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่ฟิมพ์ลงไปสู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้ายเป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุลาย(STENCIL) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (SILK SCREEN)

แม่พิมพ์ผิวนูน (Relief Process)

เป็นกระบวนการทำภาพพิมพ์ที่สร้างแม่พิมพ์ดยการแกะให้เป็นร่องลึกเข้าไป และใช้ผิวบนของส่วนนูนเป็นที่สร้างให้เกิดรูป ในการพิมพ์ต้องใช้ลูกกลิ้ง ที่กลิ้งหมึกแล้วมากลิ้งผ่านไปบนแม่พิมพ์ หมึกพิมพ์จากลูกกลิ้งจะติดเฉพาะผิวบนของส่วนนูนเท่านั้น ส่วนที่ลึกลงไปจะไม่ติดหมึก แล้วใช้ กระดาษทาบปิดลงไปบนแม่พิมพ์ และกดอัดด้วยเครื่องมือ หรือแท่นพิมพ์ หมึกก็ติดกระดาษเกิดเป็นรูปขึ้นมา เทคนิคที่รวมอยู่ภายใต้กระบวนการนี้ เช่น Wood Engraving, Wood-Cut, Lion-Cut เป็นต้น

ในปัจจุบัน(ปี 2023) เทคนิคศิลปะภาพพิมพ์ ได้พัฒนาขึ้นตามยุคสมัยของเทคโนโลยี ได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ หรือ Printer เพื่อใช้ในงานศิลป์ ที่มีเทคนิคและความละเอียดสูง เพื่อตอบสนองงานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูงและมีสีสรรค์ที่สวยงาม

-ประติมากรรม (Sculpture)

ประติมากรรม(Sculpture)คือ ผลงานศิลปะที่ใช้วัสดุต่าง ๆ มาสร้างขึ้นในลักษณะ 3 มิติ(3 Dimension) กินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุ ชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนดโดยการปั่น แกะ หล่อ เชื่อม ผู้สร้างงานเราเรียกว่า ประติมากร ประติมากรรม หมายถึง ผลงานที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูป เทวรูป

วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงาที่เกิดขึ้นในผลงาน

การสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ

1. การปั้น (Costing) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้งกระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น

2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็งตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป วัสดุที่ นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ

4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่างๆ ประติมากรรม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

4.1.แบบนูนต่ำ (Bas relief) ผลงานที่สามารถมองเห็น ได้เพียงด้านหน้าด้านเดียว เช่น เหรียญ

4.2.แบบนูนสูง (High relief) ผลงานที่สามารถมองเห็น 2 ด้าน คือ ด้านหน้าและด้านข้าง มีลักษณะนูนขึ้นมาจากพื้นหลังมาก

4.3.แบบลอยตัว (round relief) ผลงานที่สามารถมองเห็นได้รอบด้านมีฐานตั้งรูป หรือมักเรียกกันแบบไทยๆว่ารูปปั้น รูปเหมือน

ในปัจจุบัน(ปี 2023) เทคนิคการสร้างงานศิลปะด้านปฏิมากรรม ได้พัฒนาขึ้นตามยุคสมัยของเทคโนโลยี ได้มีการพัฒนาเครื่องสร้างงาน 3Dและเครื่องแกะสลักที่ทำงานโดยใช้ Laser เพื่อยิงเข้าไปที่ชิ้นงานเพื่อให้เกิดชิ้นงานที่ต้องการได้โดยการสั่งงานผ่าน Application ในคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ

-สถาปัตยกรรม Arcitechtue

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร บ้านพักที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการวางผังเมือง การจัดและตกแต่งพื้นที่ การตกแต่งอาคาร บ้านเรือน การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มนุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ

  1. การจัดสรรพื้นที่ บริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
  2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม
  3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืนและสวยงาม

สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

สถาปัตยกรรมเปิด (Open Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น อาคารบ้านเรือน โรงแรม โบสถ์ ฯลฯ จึงต้องจัดสภาพต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ เช่น แสงสว่าง และการระบายอากาศ

สถาปัตยกรรมปิด (Closing Architecture) เป็นสิ่งก่อสร้างอันเนื่องมาจากความเชื่อถือต่าง ๆ จึงไม่ต้องการให้คนเข้าไปอาศัยอยู่ เช่น สุสาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ต่าง ๆ สิ่งก่อสร้างแบบนี้จะประดับประดาให้มีความงามมากน้อยตามความศรัทธาเชื่อถือ สถาปัตยกรรมเป็นงานทัศนศิลป์ที่คงสภาพอยู่ได้นานที่สุด

-สื่อผสม หรือ สื่อใหม่ (New Media)

จะเป็นสาขาวิชาศิลป์ที่เน้นไปทางใช้ความคิดเพื่อสื่อสาร แนวความคิด (Conceptual art) ของศิลปินให้ออกมาเป็นภาพ หรือ การแสดง อาจเป็นได้ทั้งภาพนิ่ง (Photo art) การถ่ายภาพ หรือ ภาพเคลื่อนไหว (VDO art และการแสดง (Performance) หรือแม่กระทั้งสร้างขึ้นมาเองจากคอมพิวเตอร์ (Digitalart /animation) ภาพและการแสดงที่ออกมาบางครั้งอาจไม่สวยงามเหมือนทั่วๆไป แต่จะสามารถ สะเทือนอารมณ์ และทำให้ผู้ชมตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งที่ศิลปินพยายามสื่อสารออกมาได้ ซึ่งในปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2566) เทคโนโลยี AI หรือระบบอัจฉริยะโดยใช้เทคนิคกระบวนการทำงานทางด้านซอพแวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการสร้างงานศิลปะซึ่ง กำลังจะมีบทบาทมากขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผู้ที่สร้างงานศิลปะควรที่จะศึกษาหาความรู้ไว้ เพื่อประโยชน์ในงานสร้างสรรค์และพัฒนา ผลงานศิลปะต่อไป

และยังมีอีกมากมาย อาทิเช่น ศิลปะการแสดง ศิลปะเชิงแนวคิด และศิลปกรรมสิ่งทอ  ศิลปะประยุกต์ที่เป็นทัศนศิลป์ เช่น การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม  การออกแบบแฟชั่น การออกแบบและตกแต่งภายใน ก็จัดอยู่ในหมวดทัศนศิลป์นี้ทั้งสิ้น

เรียบเรียงโดย อาจารย์นุ อาร์ทมงคล

ผู้ใดจะนำไปเผยแพร่ต่อโปรดให้เครดิตและทำ Link กลับมายังบทความต้นฉบับด้วย

Credit ที่มาของข้อมูล :

1.เว็บไซต์ หอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : https://www.finearts.cmu.ac.th/

2.สารานุกรม วิกิพีเดีย : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C

3.เทคนิคการสร้างงานศิลปะ : http://astexcolusive.blogspot.com/2018/10/realistic-semi-abstract-abstract-3-1.html

4.http://www.digitalschool.club/digitalschool/technologym1-3/farm_m1_1/lesson3/more/Page7.php

5.เครดิตภาพ : https://pixabay.com/

7.เครดิตภาพ : https://google.com

2 thoughts on “ทัศนศิลป์-Visual Arts

Leave a comment