ศิลปะกับการออกแบบ – Visual Art and Design

ศิลปะกับการออกแบบ เป็นสิ่งที่ชวนให้คิดวิเคราะห์ว่า เป็นสิ่งที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร คำถามที่ว่า ศิลปะจะถือเป็นการออกแบบหรือไม่? หรือคำถามที่ว่า การออกแบบเป็นศิลปะหรือไม่มัก เป็นสิ่งที่มีการโต้แย้งและให้ความเห็นหรือมีการวิพากษ์กันอย่างกว้างขวาง ในนานาทัศนะคติ

เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อเราพูดถึงงานศิลปะ หมายถึงงาน ประเภทวิจิตร ศิลป์เท่านั้น เพราะเป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองทางด้าน อารมย์ และความพึงพอใจ ในการแสดง ออก ผ่านงานทางด้านทัศนศิลป์ ซึ่งงานศิลปะนั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของทัศนศิลป์นั่นเอง โดยมีลักษณะประเทืองปัญญาและแสดงออกทางความงาม อารมณ์ จินตนาการและ และความรู้สึก ในทางศิลปะที่บริสุทธิ์ ของศิลปินผู้สรรค์สร้างผลงาน ส่วนงานศิลปะที่ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น มักจะเรียกว่า ประยุกต์ศิลป์ เพราะเป็นการประยุกต์ศิลปะหรือความงามหรือสุนทรียภาพเข้ากับการ มุ่งเน้นด้านประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่ง ต่างๆ เช่น นิเทศศิลป์ (Communication art) ที่เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวกับงานสื่อสารมวลชน หรือ มัณฑนศิลป์ (Decorative art) ที่เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านเรือน เป็นต้น

งานทัศนศิลป์ มีความหมายครอบคลุมไปถึงงานที่สามารถมองเห็นด้วยสายตาทั้งหมด อาทิเช่นงานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ ซึ่งประกอบด้วยงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม และงานประเภทศิลปะสื่อผสม ใช้การรับรู้ความงามจากการมองเห็นทางประสาทตาและประสาทสัมผัส

สามารถดู รายละเอียดเรื่องทัศนศิลป์ได้ตามบทความนี้ : https://siammagicalart.wordpress.com/2023/12/21/visual-arts-meaning/

การออกแบบ เป็นการสร้างสรรค์จัดเป็นงานที่อยู่ในองค์ประกอบของทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง โดยให้องค์ประกอบทางด้านทัศนศิลป์ในการสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุที่ต้องการออกแบบนั้น โดยการออกแบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็น ความหมายโดยรวมเพื่อ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างสรรค์ผลงาน หรือผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักจะเป็นการตอบสนองประโยชน์ทางด้านวัตถุที่จับต้องได้ หรือทางรูปธรรมที่เน้นจะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งเช่นประโยชน์ใช้สอย ประโยชน์ด้านการพานิชย์ หรือประโยชน์ด้านการตกแต่งเป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากงานศิลปะที่มีผลลัพท์ที่ได้จะเป็นการตอบสนองทางอารมย์ความรู้สึกของผู้สรรค์สร้างงานศิลปะ ซึ่งส่วนนี้เองทำให้ การออกแบบ และ ศิลปะมีความแตกต่างกัน

ความเหมือนของงานศิลปะ กับ การออกแบบ

1.ใช้องค์ประกอบของทัศนธาตุในการสร้างเหมือนกัน คือเมื่อมีการออกแบบ ต้องใช้ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว สี น้ำหนัก ความสมดุล น้ำหนักอ่อน-แก่ เป็นองค์ประกอบในการสร้าง รูปร่างและรูปทรง เหมือนกันกับงานศิลปะ

2.ผลลัพท์ที่ต้องการคือผลงานที่ตอบสนองความพึงพอใจ เหมือนกัน

3.ต้องใช้เทคนิคในการนำเสนอทางด้านทัศนศิลป์ที่มีลักษณะคล้ายกัน คือใช้องค์ประกอบของทัศนธาตุมาประกอบกันเข้าเพื่อให้เกิดความสวยงามลงตัวและความพึ่งพอใจที่เป็นผลลัพท์

ความแตกต่างของงานศิลปะ กับการ ออกแบบ

  1. วัตถุประสงค์ต่างๆกัน งานศิลปะ หรือผลิตผลของศิลปะ คือรูป หรือสิ่งที่เป็นผลของการตอบสนอง อารมย์ความรู้สึก แนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม ของศิลปินผู้สร้างงานศิลปะนั้นผ่านผลงานทัศนศิลป์ที่ได้สรรค์สร้างขึ้น ส่วนการออกแบบนั้นมีผลอย่างเดียวคือความพอใจในผลลัพท์ของผลงาน อาจจะมีส่วนเป็นความคิดเหมือนศิลปะบ้าง แต่ผลลัพท์นั้นคือความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ หรือ Output Result
  2. คุณค่าทางด้านจิตใจ อาจจะต่างกันระหว่างผลงานศิลปะกับ ผลงานออกแบบ ผลงานศิลปะเมื่อมีงานออกมาแล้ว จะเกิดคุณค่าทางจิตใจของผู้สร้างหรือศิลปินในแง่ ความพึงพอใจที่ ได้ถ่ายทอดสิ่งที่นึกคิด จินตนาการ อารมณ์ หรือทัศนคติสู่วัตถุที่เป็นผลทางการแสดงออก ส่วนการออกแบบ คุณค่าทางจิตใจก็คือผลลัพท์ที่สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่นงานออกมาสวยและใช้สอยได้ตามที่ต้องการ จะเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกัน
  3. ประโยชน์ใช้สอย ดังที่กล่าวมาแล้วตามงานศิลปะเป็นการตอบสนองความรู้สึกผ่านทางผลงานดังนั้น ประโยชน์ใช้สอยในด้านอื่นๆของงานศิลปะแท้จึงไม่มี เป็นแต่เพียงวัตถุที่เป็นเครื่องหมาย หรือผลลัพท์แห่งการนำเสนอเท่านั้น ส่วนการออกแบบนั้น อาจจะมีประโยชน์ใช้สอยหากเป็นการออกแบบสิ่งที่สามารถใช้สอยได้เช่น แก้วกาแฟ เก้าอี้ โซฟา หรืออื่นๆ

การทำงานร่วมกันของศิลปะและการออกแบบ

ดังมีคำกล่าวที่ว่า ศิลปะการออกแบบ ซึ่งเป็นคำสองคำที่นำมาใช้ด้วยกัน คือคำว่า “ศิลปะ” และคำว่า “ออกแบบ” มารวมกันมีความหมายว่า เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสิ่งใด ที่ใช้เทคนิคของศิลปะในการสร้างองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์นั้น โดยวิธีการก็คือการกำหนด วัตถุที่ต้องการออกแบบ แล้วกำหนดแนวคิดที่ใช้สร้าง จากนั้นใช้เทคนิคเรื่องทัศนธาตุเข้าไปเป็นองค์ประกอบในการออกแบบวัตถุนั้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณณ์ที่มีแนวคิดทางศิลปะกลมกลืนอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นอย่างกลมกลืน

บทความนี้เรียบเรียงโดย อาจารย์นุ อาร์ทมงคล ผู้ใดคัดลอกไปเผยแพร่กรุณาให้เครดิตและทำ Link กลับมาที่บทความต้นฉบับด้วย

Leave a comment