จิตรกรรมสีน้ำ (WATER COLOUR PAINTING)

งานศิลปะประเภทที่วาดด้วยสีน้ำ ถือเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งที่มีความงดงามวิจิตรในแบบของสีน้ำ คือมีลักษณะโปร่งแสงเห็นพื้นผิว ของวัสดุ เมื่อวาดออกมาแล้วมีความเป็นเอกลักษณ์ ความแต่งต่างจากงานจิตรกรรมประเภทอื่น

การวาดภาพด้วยสีน้ำ ( WATER COLOUR PAINTING )

สีน้ำ WATER COLOUR เป็นสีชนิดที่ใช้ผงสีที่บดอย่างละเอียดผสมกับการ ( Gum Arabic) เป็นการที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ง่าย เมื่อแห้งแล้วจะเกาะติดบนผิวกระดาษได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่เบาบาง ช่วยทำให้สีดูสดใสเรืองรองขึ้นด้วย แต่เดิมมาใช้กันเฉพาะการชนิดนี้เพียงอย่างเดียวในการบดเนื้อสีน้ำ แต่ต่อมาได้ใช้น้ำผึ้ง Clycerino, น้ำเชื่อมผสมเข้าไปด้วยเพื่อที่จะทำให้สีที่ระบายแห้งแล้วดูโปร่งใส(Transparency ) และทำให้แห้งช้าลงกว่าเดิมเล็กน้อย

เมื่อพูดถึงสีน้ำคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าสีน้ำได้เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ ในสมัยศตวรรษที่ 13 แต่ความจริงแล้วสีน้ำเกิดขึ้นและมีการพัฒนามาก่อนหน้านั้นนานมากทีเดียว เพียงแต่ว่ามี จิตรกรสีน้ำชาวอังกฤษหลายคนในสมัยศตวรรษที่ 18 สามารถบรรลุถึงจุดสูงสุดของการเขียนสี น้ำ ถึงกับมีการกล่าวกันว่า “เมื่อนึงถึงสีน้ำมักจะนึกถึงศิลปะของอังกฤษ” Paul Sandby(1725 -1809)จิตรกรชาวอังกฤษที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งสีน้ำ อย่างไรก็ดี ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์สีน้ำให้กว้างขึ้นไปอีก จะพบว่าศิลปินชาวเยอรมนีชื่อ Albrecht Durer (1471 – 1528) สมควรที่จะได้ชื่อว่า “บิดาแห่งสีน้ำ” อีกคน ในสมัยกลาง เราจะพบว่าภาพเขียนประกอบคัมภีร์ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำที่มีการเขียนประดิษฐ์ อย่างวิจิตรพิสดาร คุณลักษณะสำคัญของสีน้ำอันหนึ่งคือ ความโปร่งใสในส่วนที่มีแสงสว่างมากก็จะเว้นกระดาษไว้เฉย กระดาษโดยทั่วไปมักจะมีสีขาว แต่ก็มีจิตรกรหลายคนที่ชอบลงพื้นกระดาษ ให้เป็นสีบางสีอ่อน เช่น สีเหลืองอ่อนเพื่อแสดงบรรยากาศของแสงแดด การเขียนภาพสีน้ำจะ เริ่มจากน้ำหนักสีอ่อนที่สุดไปสู่สีเข้ม ซึ่งแตกต่างไปจากการเขียนภาพสีน้ำมันที่สามารถลงสี อ่อนทับเข้มได้

พื้นระนาบสำหรับสีน้ำ (SURFACES) พื้นระนาบที่นิยมใช้โดยทั่วไปสำหรับงานเขียนภาพสีน้ำ คือ กระดาษ ทั้งนี้ อาจจะ เนื่องมาจากประโยชน์และคุณสมบัติของกระดาษที่สามารถให้สีน้ำเกาะติดได้ดี และอาจจะ เกี่ยวข้องกับความที่มีราดาถูก ขนย้ายได้สะดวก มีน้ำหนักเบาและมีลักษณะพื้นผิวให้เลือก หลายชนิด การเลือกใช้กระดาษเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และตัดสินใจเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะ งานที่จะทำ

โดยปกติแล้วกระดาษสำหรับงานสีน้ำจะมีมาตรฐาน 3 แบบด้วยกัน

  1. Hot pressed paper เรียกชื่อย่อว่า กระดาษ H.P. บางคนอาจจะเรียกว่า กระดาษอัดร้อน กระดาษชนิดนี้มีลักษณะผิวหน้าเรียบ
  2. Cold pressed paper บางคนเรียกว่า กระดาษอัดเย็น เป็นกระดาษที่มี ผิวหน้ากึ่งหยาบกึ่งเรียบ เหมาะสำหรับงานสีน้ำแบบปาดสีเรียบ ๆ ระบาดใหญ่ ๆ แล้วมาแต่ง แต้มรายละเอียดด้วยพู่กันเล็ก ๆ เป็นกระดาษที่นิยมใช้สำหรับงานสีน้ำมากที่สุดในจำนวน 3 แบบนี้และเป็นกระดาษที่มักจะแนะนำให้ผู้ที่มีประสบการณ์น้อยหรือเพิ่มเริ่มหัดเขียนภาพ สีน้ำใช้กัน
  3. Rough paper กระดาษแบบนี้มีผิวหน้าที่หยาบ เมื่อระบายสีน้ำลงไปจะได้ลักษณะที่สีติดบ้างไม่ติดบ้าง ถ้าใช้ชุ่มมากสีจะลงไปอยู่ในร่องขรุขระ ส่วนนูนของผิวขรุขระจะ เป็นสีจาง ๆ ดูแล้วเหมือนการมีประกายแสง กระดาษแบบนี้นิยมใช้ในกลุ่มจิตรกรที่มี ประสบการณ์สูง และไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะยากแก่การดวบคุมความถูกต้องของสีให้ ออกมาตามต้องการ

น้ำหนักของกระดาษ ( Weight of paper )
การเลือกกระดาษสำหรับเขียนสีน้ำ นอกจากจะพิจารณาเรื่องผิวหน้าของ กระดาษแล้ว ข้อควรคำนึงประการที่สองคือ การเลือกน้ำหนักของกระดาษให้เหมาะสมกับงาน น้ำหนักของกระดาษวัดเป็นรีม 1 รีม มี 480 แผ่นน้ำหนักต่อ 1 รีม คือ ชื่อกระดาษที่เรานิยม ใช้เรียกกัน เช่น กระดาษ 70 ปอนด์, 80 ปอนด์, 100 ปอนด์ ความหมายก็คือ กระดาษ 480 แผ่นมีน้ำหนักรวมกันเท่ากับ 70 ปอนด์ 80 ปอนด์ 100 ปอนด์ ตามลำดับ น้ำหนักของ กระดาษมีความสำคัญมากต่องานเขียนสีน้ำ กล่าวคือ กระดาษที่หนักกว่าเวลาระบายสีจะไม่ ค่อยบิดงอ กระดาษที่มีน้ำหนักน้อยหรือกระดาษที่บาง เมื่อเปียกชุ่มจะมีอาการโก่งหรือไม่งอ ซึ่งเรานิยมแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีขึงกระดาษบนแผ่นกระดานรองเขียนก่อนเขียน แต่สำหรับ กระดาษขนาด 140 ปอนด์ขึ้นไป สามารถใช้ระบายสีได้เลย โดยไม่ต้องขึงกระดาษ แต่มี ข้อยกเว้นเหมือนกันว่า ถ้าใช้สีเปียกชุ่มมาก ๆ ก็จำเป็นจะต้องขึงกระดาษก่อนเช่นกัน การขึงกระดาษ ( Stretching paper ) การขึงกระดาษให้ขึงลงบนแผ่นกวนรองเขียน ด้วยกระดาษกาวสีน้ำตาล ชนิด ใช้น้ำทา

วิธีขึงกระดาษด้วยกระดาษกาวมีขั้นตอนในการขึง ดังนี้

  1. เตรียมกระดาษรองเขียน กระดาษที่จะขึง ตัดกระดาษกาวให้มีความยาว และความกว้างมากของกระดาษข้างละประมาณ 1 นิ้ว
  2. พิจารณาว่ากระดาษด้านใดเป็นด้านหน้าสำหรับเขียน โดยปกติจะเลือก ด้านที่มีผิวหน้าหยาบ แต่ในกรณีที่กระดาษมีผิวหน้าหยาบทั้งสอบด้าน ให้ส่องดูลายน้ำตรา หรือยี่ห้อผู้ผลิตที่มุมกระดาษ ซึ่งด้านที่อ่านลายน้ำออกถือเป็นด้านที่ถูกต้อง
  3. ใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดกระดาษทั้งสองด้าน แล้ววางบนแผ่นกระดานรองเขียน
  4. นำกระดาษกาวปิดขอบกระดาษทั้ง 4 ด้าน ให้ยึดติดกับกระดานรองเขียน
  5. ทิ้งไว้ให้แห้ง ในลักษณะวางราบกับพื้นกระดาษทำเอง ( Hand – made paper ) กระดาษที่ดีที่สุดสำหรับงานสีน้ำ คือ กระดาษที่มีส่วนผสมของใยลินิน และ ทำด้วยมือโดยช่างผู้ชำนาญ กระดาษทำเองจะมีราคาก่อนข้างแพง ก่อนใช้จะต้องดูลายน้ำที่ ประทับไว้ที่มุมด้านล่างของกระดาษ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นด้านหน้า ผิวหน้าของ ด้านหน้าจะลงกาวไว้อย่างดี และมีการควบคุมการผลิตที่เตรียมผิวหน้าไว้เฉพาะงานเขียนสีน้ำ กระดาษสีน้ำญี่ปุ่น ( Japanese paper ) กระดาษญี่ปุ่นมีหลายชนิดที่ผลิตสำหรับงานสีน้ำโดยเฉพาะ เช่น Hoshoมี เนื้อหนา พื้นผิวหยาบดูดซับน้ำได้รวดเร็ว Morki มีเนื้อก่อนข้างบาง, ผิวหน้าเรียบ, สีงาช้าง เหมาะกับงานที่แสดงรายละเอียด Troya เนื้อบาง สีขาว เหมาะสำหรับระบายสีเปียกชุ่มมาก ๆ Shinsetsu เนื้อหนา ไม่ดูดซึมสี ผิวหน้าเรียบด้านหนึ่ง หยาบด้านหนึ่ง masa มีลักษณะ คล้ายกับ Shinsetsu และ Torinoko กระดาษโรงงาน ( Paper manufacturers) กระดาษสีน้ำที่ผลิตจากโรงงานด้วยเครื่องจักรมีหลายยี่ห้อ เช่น Arches, Arnold, R. W.S., Bockingford, Croswick, Crisbrook, David Cox, Fabriano, Green,
    Michallet, Van Gelder, Kent Turkey Mill, Ingres, Saunders

สี(PAINT)
สีน้ำมีหลายชนิด มีหลายคุณภาพ บางชนิดเป็นหลอดบรรจุกล่อง ซึ่งซื้อได้ในราดาถูก บางชนิดบรรจุในตลับเรียงตามลำดับสี บางชนิดบรรจุหลอดแยกขายเป็นสี ๆ ไป ซึ่งมีราคา แพงขึ้นตามลำดับ สีที่ติดป้ายไว้ว่า ” Atists ” เป็นสีที่เชื่อถือได้ว่า มีคุณภาพดีมากและราคา ก็แพงมากด้วย คุณสมบัติของสีที่ไม่ดีไม่ได้หมายถึง สีที่มีราคาถูก แต่เป็นสีที่ไม่สามารถคง คุณค่า ( Value )ของสีไว้ได้ และซีดจางเร็ว แต่ก็เป็นที่นำสังเกตว่าสีราคาถูกทั่ว ๆ ไป แนวโน้มส่วนใหญ่มักเป็นแบบนี้ ตามธรรมดาสีน้ำทุกชนิดจะมีการซีดจาง ถ้าปล่อยให้ถูก แสงอาทิตย์หรือแสงสว่าง แต่ถ้าเป็นสีชนิดถาวรซึ่งเขียนไว้ว่า ” Atists ” จะยืดอายุให้ซีดจาง ได้ช้าลงเช่นสี Winsor and Newton, Reeves, Rowney และ Grumbacher

สีสำเร็จรูป ( Ready – made paint )
สีที่ผสมสำเร็จและบรรจุออกขายจากโรงงาน อาจจะอยู่ในรูปแห้งเป็นแท่ง หรือเป็นสีกึ่งเปียกบรรจุเป็นถาดสีเรียงไล่ตามลำดับของสี และยังมีสีชนิดเปียกบรรจุหลอดหรือ ขวด สีแบบบรรจุเป็นถาดนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากว่ามีประโยชน์หลายอย่าง คือ จุลีได้มาก กินเนื้อที่น้อย ใช้ง่าย พกสะดวก หลุมสีจะเป็นสีแข็งอยู่ในภาชนะเล็ก ๆ สามารถ ผสมน้ำลงไปได้เลย โดยสีจะไม่ไหลไปปะปนกับสีอื่น สำหรับสีชนิดบรรจุหลอดจำเป็นต้องใช้ จานสีที่สะอาด มีขนาดพอเหมาะเพื่อที่จะใช้ผสมปริมาณของสีได้เพียงพอ ในการผสมสีจาก หลอดทุกครั้งจะต้องผสมเผื่อเหลือไว้ด้วย ไม่เหมือนกับสีแบบถาด อาจจะเสียเวลาในการใช้ พู่กันฝนให้เนื้อสีละลาย แต่ก็ไม่มีการสูญหายสีมากเท่ากับสีหลอด

สี ( Colours )
สีโดยทั่วไปจะมีให้เลือกหลายสี บางสีก็มีความคงทนถาวรมากกว่าบางสี บางสี อาจจะมี value ไล่ถึง 10 – 11 สี ซึ่งความจริงเราอาจจะใช้ไม่ถึงนั้น สีส่วนใหญ่จะส่งมาจากต่างประเทศ โดยโรงงานต่าง ๆ กัน เช่น สีน้ำจาก อังกฤษ, อเมริกา, จีนแดง, ญี่ปุ่น และฮอลแลนด์ ซึ่งโรงงานต่าง ๆ จะใช้ชื่อสีเป็นระบบสากลคล้าย ๆ กัน และสีที่ควรจะเลือกซื้อ มีดังนี้

  1. Cadmium Yellow
  2. Lemon Yellow
  3. Permanent Yellow
  4. Yellow Ochre
  5. Cobalt Blue
  6. Prussian Blue
  7. Cerulean Blue
  8. Ultramarine
  9. Monastral Blue
  10. Cadmium Red
  11. Alizarin Crimson
  12. Indian Red
  13. Light Red
  14. Venetian Red
  15. Cobalt Violet
  16. Cobalt Green
  17. Sap Green
  18. Hooker’s Green
  19. Terre Verte
  20. Viridian
  21. Burnt Sienna
  22. Rew Sienna
  23. Burnt Umber
  24. Raw Umber
  25. Ivory Black
  26. Lamp Black
  27. Chinese White

ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาสีได้ครบตามจำนวนดังกล่าวข้างตัน อาจจะเลือกซื้อ เฉพาะสีที่จำเป็นจริง ๆ ส่วนสีบางสีที่สามารถผสมเอาได้ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ สีที่จะขอแนะนำใน ชุดเล็กจำนวน 11 สี ซึ่งเพียงพอต่อการวาดภาพในรูปแบบใดก็ได้ มีดังต่อไปนี้

  1. Cadmium Yellow
  2. Yellow Ochre
  3. Monastral Blue
  4. Ultramarine
  5. Cadmium Red
  6. Alizarin Grimson
  7. Viridian
  8. Hooker’s Green
  9. Burnt Umber
  10. Ivory Black
  11. Payne’s Grey

อุปกรณ์ ( EQUIPMENT )

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้กับงานจิตรกรรมสีน้ำเป็นวัสดุที่ใช้แบบตรง ๆ ไม่มีกระบวนการใช้ที่ สลับซับซ้อน แต่ที่ผลงานจิตรกรรมสีน้ำประจักษ์กันออกมาหลายรูปลักษณะนั้น ก็เพราะว่า จิตรกรใช้ความสามารถคิดกันทางด้านเทคนิดการระบายสี โดยที่ทุกคนต่างก็ยืนอยู่บนพื้นฐาน เดียวกัน คือ ใช้วัสดุสีน้ำธรรมดา ๆ รายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์สีน้ำที่สำคัญ มีดังนี้

  1. พู่กัน (Brushes) พู่กันหมีหลายขนาด หลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นขนสัตว์แบบอ่อ, ขนอูฐหรือขนวัว แต่ก็มีพู่กันที่ใช้ขนจากวัสดุสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ให้ผลดีเช่นกัน

พู่กันสีน้ำมีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น พู่กันกลมพอง สำหรับระบายบริเวณพื้นที่ กว้าง ๆ พู่กันกลมปลายแหลมขนาดกลางใช้สำหรับระบายวัตถุทั่วไป พู่กันแบบปลายตัด พู่กันสีน้ำแบบตะวันออก พู่กันด้ามสั้น พู่กันแบบขนาดใหญ่ใช้ระบายพื้นที่กว้าง ๆ ใช้ได้สีเรียบ พู่กันแบบรูปปลาเป็นพู่กันแบบญี่ปุ่น ใช้ะบายสีเรียบบนพื้นที่กว้าง ๆ การใช้พู่กันในการเขียน รูปจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมในแต่ละงาน โดยทั่วไปควรมีพู่กันขนาดใหญ่ 2 อัน สำหรับลงพื้น และลงวัตถุทั่วไป พู่กันเล็กอีก 2 – 3 อัน สำหรับเก็บรายละเอียด (เบอร์ที่ควรจะมีคือ พู่กัน กลมเบอร์ 2, 4, 6, 8, 12 พู่กันแบนเบอร์ 4, 6, 10)

2. ขาหยั่งและแผ่นกระดาษรองเขียน ( Easels and drawing boards ) ขาหยั่ง สำหรับงานสีน้ำที่มีขายทั่วไป มีขนาดไม่ใหญ่ น้ำหนักเบา สามารถปรับมุมเอียงได้แตกต่าง กัน ตั้งแต่ในแนวตั้งฉากกับพื้นดินจนถึงแนวนอนราบ ส่วนกระดานรองเขียนเป็นแผ่นไม้ที่ไม่หนานัก อาจจะใช้กระดานอัดหรือไม้อัดมาทำได้ จิตรกรทุกคนอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ขาหยั่งในการเขียนรูปสีน้ำ แต่ กระดานรองเขียนยังคงมีความจำเป็นอยู่ การเลือกกระดานรองเขียน ควรเลือกให้เหมาะกับ ความต้องการขนาดใหญ่กว่ากระดาษที่จะใช้เขียน และถ้าออกไปเขียนรูปนอกสถานที่ก็ควรจะ เลือกกระดานที่มีน้ำหนักเบา

3. กล่องบรรจุเครื่องมือ ( Containers for equipment ) สำหรับผู้ที่ทำงานสีน้ำนอก สถานที่ ควรจะมีกระเป๋าใส่อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ อาจจะเป็นถุงหรือย่ามก็ได้ แต่สำหรับ สีหลอดและพู่กันควรจะหากล่องใส่ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

4.กล่องสี ( Paint boxes ) โดยปกติจะมีสีเรียงอยู่ 2 แถว กล่องสีเมื่อเปิดฝาออกมา จะใช้แทนจานสีได้

5.ภาชนะสำหรับใส่น้ำ ( Water containers ) การเขียนสีน้ำ สิ่งที่จะขาดมิได้คือ ภาชนะ ใส่น้ำสำหรับระบายสีหรือล้างพู่กัน น้ำที่ใช้ผสมสีควรเป็นน้ำกลั่น เพราะมีความสะอาดบริสุทธิ์ และจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีต่อสี ในกรณีที่ออกไปเขียนรูปนอกสถานที่ ควรมี กระดิกน้ำสำหรับใส่น้ำสะอาดติดไว้ด้วย เมื่อน้ำล้างพู่กันสกปรกจะได้เทเปลี่ยนใหม่

กรรมวิธีการเขียนภาพสีน้ำ (TECHNIQUES)

ระบายเรียบสีเดียว ( Flat wash )ในการระบายลงบนพื้นที่ที่ใหญ่เกินกว่ารอย พู่กันที่จะป้ายลงไป ให้ได้สีที่เรียบสม่ำเสมอ ควรใช้วิธีทำให้บริเวณเหล่านั้นเปียกขึ้นเสียก่อน แล้วเลือกพู่กันขนาดใหญ่สำหรับใช้ระบาย ผสมสีให้มากกว่าที่จะใช้เล็กน้อย สีจากพู่กันที่ปาด ลงไปจะละลายแผ่ออกไป และเมื่อเอาพู่กันจุ่มสีปาดต่อลงไปอีก สีก็จะซึมซ่านเข้าหากันอย่าง กลมกลืนไม่เห็นรอยต่อระหว่างรอยพู่กัน ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ควรเอียงกระดาษหรือกระดาน รองเขียนสักเล็กน้อย (ประมาณ 15 – 30) เพื่อให้สีไหลลงสู่ส่วนล่างได้ดี

ระบายอ่อนแก่สีเดียว ( Graduated wash ) จะต้องเตรียมผสมสีไว้ก่อน 2 – 3 ชุด โดยใช้สีเดียวกันแต่ผสมน้ำให้อ่อนแก่แตกต่างกันเป็น 2 – 3 ระดับ การระบายสีก็ทำเหมือนการ ระบายสีแบบเรียบในข้อที่ 1 เพียงแต่มีการเพิ่มน้ำหนักของสีขึ้นเรื่อย ๆ รอยต่อระหว่างสีจะ กลมกลืนกัน

ระบายสลับสี ( Variegated washes ) วิธีการนี้ก็เหมือนกับระบายสีแบบเรียบใน ข้อที่ 1 แต่มีความยุ่งยากขึ้น คือ ต้องผสมสีต่าง ๆ ที่ต้องการระบายล่วงหน้าไว้ก่อน สีจะถูก ระบายสลับกันไป ส่วนที่เป็นรอยต่อระหว่างสีจะผสมซึมเข้าหากัน

วิธีจิ้ม – จุด ( Stippling ) เทคนิคนี้คล้ายกับการเขียนภาพของกลุ่ม Post ㆍ Impressionist ในสมัยศตวรรษที่ 19 โดยการใช้จุดสีแตะหรือจิ้มลงบนผิวหน้ากระดาษ ใช้ในการ แสดงลักษณะพื้นผิวได้ดี

วิธีป้าย – ปัด ( Scumbing ) เตรียมสีค่อนข้างแห้งอย่าให้เปียกชุ่มเกินไป ละเลงสี ที่เตรียมไว้ลงบนกระดาษ โดยใช้พู่กันระบายในลักษณะป้ายปัดวนไปวนมาทุกทิศทุกทาง เทคนิคนี้จะใช้ได้ผลดีเฉพาะในกรณีที่ต้องการเนันให้เห็นพื้นผิวของกระดาษ

สีแห้ง ( Dry brush ) เตรียมสีโดยผสมกับปริมาณของน้ำที่น้อยที่สุด เทคนิคนี้ ต้องการความถูกต้องแม่นยำและมีสมาธิในการเขียนมากที่สุด การใช้ Dry brush จะใช้ใน ขั้นตอนสุดท้ายคือ ใช้แต่งเดิมรายละเอียดต่าง ๆ

การระบายกับเส้น ( Wash and line )การใช้เส้นกับการระบายร่วมกัน จะได้ ลักษณะงานสีน้ำที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง บางครั้งก็ใช้การระบายสีต่าง ๆ ก่อนแล้วจึงลงเส้นสี ทับลงไป บางครั้งก็ลงลายเส้นสีก่อนแล้วระบายสีทับก็ได้

ใช้ฟองน้ำ ( Sponge ) ในบางสถานการณ์ฟองน้ำอาจจะใช้แทนพู่กันได้ดี นอกจากนี้ ฟองนี้ยังอาจจะใช้เป็นเครื่องมือลบสิ่งที่ไม่ต้องการออก โดยการใช้ฟองน้ำที่สะอาดชุบน้ำแล้วบิด ให้กึ่งแห้งกึ่งเปียก นำมาเช็ดในส่วนที่ต้องการลบออก

ยางลบ ( Eraser) การลบภาพสีน้ำด้วยยางลบอาจจะทำได้ เช่น ในกรณีที่ระบาย สีเข้มเกินไปอาจจะใช้ยางลบลบออกได้ แต่ในการใช้ยางลบจะต้องแน่ใจว่าสีที่ระบายจะต้องแห้ง สนิทจริง ๆ และยางลบจะต้องสะอาดด้วย การลบบางครั้งทำให้กระดาษเป็นขุย

ใบมีค ( Blade ) การใช้ใบมีดอาจใช้ได้ในลักษณะเดียวกันกับยางลบ คือ ใช้ใบมีด ด้านเรียบวางตั้งกับกระดาษแล้วขูดผิวหน้าของสีที่ระบายไปแล้วออก เป็นการลดน้ำหนักความ เข้มของสี นอกจากนี้ อาจจะใช้ปลายแหลมของมีดหรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ ขูดผิดกระดาษให้ เป็นรอยเส้นสีขาวในภาพ

ดีดสี ( Splatter) ผสมสีให้มีความข้นพอสมควรจุ่มแปรงสีฟันลงไปในสี ถือให้ ห่างจากกระดาษประมาณ 3 นิ้ว แล้วใช้มีดขูดหรือกรีดส่วนที่เป็นขนแปรงอย่างเร็ว ๆ สีจะถูก ดีดออกมาเป็นเม็ดฝอย ๆ ลงไปติดที่กระดาษ ด้วยเทคนิคนี้ถ้ามีการปิดกั้นส่วนอื่น ๆ ไว้อย่างดี จะได้ภาพที่สมบูรณ์และควบคุมได้

วิธีใช้เทปกาวและตัวกันอื่น 1 ( Masking devices and resists ) จุดประสงค์ ของการปิดกันก็เพื่อจะป้องกันบางส่วนของกระดาษไม่ให้ติดสี เมื่อปิดกั้นกระดาษไว้ด้วยวัสดุ ชนิดหนึ่งอย่างดีแล้ว จึงระบายสีน้ำลงไปบนกระดาษ และลอกวัสดุนั้นออกจากกระดาษ โดยทั่วไปนิยมใช้กาวยางน้ำ ( Rubber cement ) เป็นตัวปิดกั้นซึ่งให้ภาพที่สวยงาม แต่ก็ ยากแก่การควบคุม Masking fluid เป็นตัวกันชนิดน้ำเหลว ๆ ซึ่งสามารถระบายลงบน กระดาษได้ด้วยพู่กัน, ปากกา การใช้เทปกาวติดปะจะได้เส้นขอบที่คมเมื่อลอกออก เทียนไขก็สามารถนำมาใช้ป็นตัวกันสีน้ำได้เช่นกัน แต่ควรจะใช้เพียงเล็กน้อย เท่านั้น เพราะเทียนไขขจัดออกจากกระดาษยาก

การเป่าสี ( Blown blots ) เป็นวิธีการหยดสีเปียก ๆ ลงไปบนกระดาษ แล้วเป้าสี ไปทางซ้าย ทางขวา บน หรือล่าง

เทคนิคผสม ( Mixing technique ) การที่นำเอาเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ปะปนกัน หรือการออกนอกกฎเกณฑ์บางอย่าง อาจจะทำให้เกิดผลที่น่าแปลกไปได้ เช่น ใช้น้ำมันสน ระบายผสมกับสีน้ำ

สิ่งที่น่าสนใจอื่น 1 การผสมสบู่ลงไปในสีน้ำเป็นกลวิธีซึ่งจิตรกรนำมาใช้เมื่อต้องการ เขียนภาพลงบนพื้นผิววัสดุบางอย่างที่สีไม่จับหรือมีผิวมันลื่น เช่น แผ่นกระจกโลหะ สำหรับ เมื่อหนาวจิตรกรสีน้ำมักจะประสบปัญหากับอากาศที่หนาวเย็น เขาจึงต้องใช้แอลกอฮอล์ผสม ลงไปในน้ำด้วย เพื่อไม่ให้น้ำแข็งตัว ยังมีที่น่าสนใจอีกคือ การระบายสีน้ำแล้วโรยเกลือลงไป จะได้ผลที่น่าพึ่งพอใจ นอกจากเกลือแล้วอาจจะใช้ด่างทับทิม, เม็ดทรายก็ได้

Credit :

เครดิตช้อมูลจาก : เอกสารการสอน เรื่องจิตรกรรมสีน้ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เครดิตภาพ : Google Image Thumbnail

Pixabay.com

Leave a comment