ทัศนธาตุ – Visual Element

ทัศนธาตุ (Visual Element) หรือองค์ประกอบภาพ ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็น เป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างสรรค์งานศิลปะ และรวมถึงการออกแบบทั้งหมด องค์ประกอบภาพมีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ จุด, เส้น, รูปร่าง รูปทรง, สี,พื้นที่ว่าง,โทน,พื้นผิว ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงแต่ละองค์ประกอบแยกกัน และวิธีการองค์ประกอบเหล่านี้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ หรือการออกแบบอื่นๆก็สามารถนำไปใช้ได้

ไม่ว่าออกแบบอะไร องค์องค์ประกอบของทัศนธาตุ เหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งรายการ (หรือไม่ก็หลายรายการ) จะมีอยู่ในนั้น

Credit Image : https://www.thoughtco.com/what-are-the-elements-of-art-182704


ทัศนธาตุ เป็นสิ่งที่ศิลปินและนักออกแบบนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ ผลงานต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้ เพื่อสื่อความหมายตามแนวคิด สู่การสร้างผลงานหรือผลิตภัณฑ์ โดยนำทัศนธาตุในหัวข้อต่างๆ มาประกอบให้เข้ากัน และเกิดการรวมตัวกันอย่าง
สมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดความกลมกลืน และความสมดุลตามหลักการ

พื้นฐานของการเรียนรู้เรื่องทัศนธาตุ เป็นการศึกษารายละเอียดของ เส้น จุด สี แสงเงา พื้นที่ว่าง รูปทรง
ตลอดจนลักษณะพื้นผิว ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดของภาพที่จำทำให้เกิดขึ้น ที่ทำให้มองเห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของรูปแบบ ทัศนธาตุที่ปรากฏอยู่ในรูปทรงของภาพ การมองเห็นเช่นนี้ถือเป็นข้อมูลสำ คัญที่ช่วยให้สามารถศึกษา
วิเคราะห์ตัวผลงานทัศนศิลป์ ในรูปแบบของทัศนธาตุได้ตามประเภทของผลงาน หรือเนื้อหา ที่ต้องการสื่อตาม
แนวคิดของศิลปินหรือผู้สรรค์สร้างสร้างผลงานนั้นได้ง่ายขึ้น

เมื่อมีรูปทรงของงานทัศนศิลป์เกิดขึ้น องค์ประกอบของทัศนธาตุ จะต้องมี และอยู่รวมกันอยู่ ในงานทัศนศิลป์นั้นอย่างครบถ้วน ดังนั้น หากจะทำ การวิเคราะห์รูปแบบของทัศนธาตุในงานทัศนศิลป์ จำาเป็นต้องแยกองค์ประกอบของทัศนธาตุออกเป็นอย่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา และการนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และแนวคิดที่ใช้สร้างตามวัตถุประสงค์ของศิลปินในการเลือกรูปแบบทัศนธาตุต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ

ดังนั้นในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ หรือสร้างงานใดๆที่เป็นทัศนศิลป์ จึงจำเป็นต้องนำเอาองค์ประกอบของทัศนธาตุมาใช้ในการออกแบบ ซึ่งผลงานนั้น การออกแบบที่มีการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ อย่างถูกต้องตามหลักการนั้น จะท้าให้ผลงานมีความน่าสนใจ และดึงดูดผู้ที่ได้เห็นผลงานนั้น เพราะมีความ สมดุล เหมาะสมลงตัว ทำให้เกิดความสวยงามขึ้นในแง่ของการออกแบบ

รูปแบบของทัศนธาตุ
รูปแบบของทัศนธาตุมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ จุด, เส้น, รูปร่าง, โทน, สี, ลวดลาย,รูปร่าง,พื้นผิว,

Credit Image : https://www.renderforest.com/blog/elements-of-design

1.จุด (Point , Dot)
เป็นทัศนธาตุอันดับแรก ไม่มีมิติ แต่เมื่อนำมาเรียงต่อกัน จะทำให้เกิดเป็นเส้น และถ้านำจุด
หลายๆ จุดมารวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นก็จะเกิดเป็นรูปร่างต่างๆขึ้น หรือเมื่อนำจุดที่มีน้ำหนักและปริมาตร มารวมกันการรวมกันก็จะเกิดรูปทรงต่างๆ ขึ้น

Credit Image : https://www.vectorstock.com

2.เส้น (Line)
เป็นทัศนธาตุที่สำคัญที่สุดในทาง ศิลปะและการออกแบบงานทัศนศิลป์ทุกประเภท เส้นเป็นพื้นฐานโครงสร้างของสิ่ง โดยลักษณะของเส้น จะมีลักษณะ เป็นเส้นตรง และเส้นโค้ง โดยเส้นตรงมีลักษณะเป็น เส้นตั้ง เส้นนอน เส้น เฉียง เป็นต้น ส่วนเส้นโค้งนั้นมีลักษะคล้ายกับการเชียนวงกลมแต่จะมีรัศมีเท่าใดและเปลี่ยนรูปไปอย่างไรก็สุดแล้วแต่การนำไปใช้งาน

Credit Image : https://www.pinterest.ph/pin/771804454906542479/

2.รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form)
เป็นรูปธรรมของการแสดงออกเพื่อสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ โดยทั่วไป สองคำนี้มักจะใช้คู่
กัน เพราะมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ในทางทัศนศิลป์จะมีความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

 2.1.รูปร่างธรรมชาติ (Natural Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น  รูปร่างของคน ของสัตว์ ของธรรมชาติเช่นต้นไม้ใบหญ้า ขุนเขา สายน้ำ  เป็นต้น ซึ่งมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปหลายหลายไม่มีโครงสร้างแน่นอน

2.2.รูปร่างเรขาคณิต (Geometrical Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมีโครงสร้างแน่นอน  เช่น  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม  และรูปวงกลม  เป็นต้น
     

2.3.รูปร่างอิสระ (Free Shape)  หมายถึง  รูปร่างที่เกิดขึ้นตามความต้องการของผู้สร้างสรรค์  ให้ความรู้สึกที่เป็นเสรี  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนเป็นไปตามจินตนาการของผู้ออกแบบ และอาจจะอ้างอิงกับรูปที่มีอยู่เดิมเช่น รูปร่างของ คน ต้นไม้ ใบหญ้า สัตว์ เป็นต้น

      รูปทรง (Form)  หมายถึง  โครงสร้างทั้งหมดของวัตถุที่ปรากฏแก่สายตาในลักษณะ 3 มิติ  คือมีทั้งส่วนกว้าง  ส่วนยาว  ส่วนหนาหรือลึก  คือ  จะให้ความรู้สึกเป็นแท่ง  มีเนื้อที่ภายใน  มีปริมาตร  และมีน้ำหนัก

      น้ำหนักอ่อน-แก่ (Value)  หมายถึง จำนวนความเข้ม ความอ่อนของสีต่าง ๆ และแสงเงาตามที่ประสาทตารับรู้ เมื่อเทียบกับน้ำหนักของสีขาว-ดำ ความอ่อนแก่ของแสงเงาทำให้เกิดมิติ เกิดระยะใกล้ไกลและสัมพันธ์กับเรื่องสีโดยตรง

รูปร่าง เป็นภาพ ๒ มิติ คือ มีความกว้าง
และความยาว มีเนื้อที่ภายในเส้นขอบเขต

รูปทรง เป็นภาพ ๓ มิติ คือ มีความกว้าง
ความยาว ความหนา เนื้อที่และปริมาตรมีการก่อรูป
รวมตัวกันขึ้นเป็นผลงานทัศนศิลป

3.สี (Color)
ทฤษฎีสี ได้กล่าวถึงเรื่องของวรรณะของสี ความอ่อนแก่ และสีสรรค์ของมัน ซึ่งมักใช้บ่งบอกถึงคุณลักษณะที่ให้ความรู้สึกแบ่งออกเป็นวรรณะร้อนและเย็น ซึ่งทั้งสองวรรณะนี้มีผลต่อการตอบสนอง ในทางความรู้สึก และอารมณ์ของมนุษย์ และช่วยให้การใช้สีในงานศิลปะ และสื่อสารมนุษย์มีความสำเร็จมากขึ้น

ดูรายละเอียดของสี และเทคนิคการนำไปใช้งานได้ที่บทความนี้ : ทฤษฏีสี

4.พื้นที่ว่าง (Space)
พื้นที่ว่างมักจะอยู่คู่กับรูปทรงโดยเป็นคู่ที่มีความหมาย ตรงข้ามกัน หรือขัดแย้งกันกับรูปทรง เป็นองค์ประกอบทำให้รูปทรงมีความเด่นชัดขึ้น

5.น้ำหนักอ่อน-แก่ (Tone/Value)
ความอ่อน-แก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่างและบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุ โดยการระบายสีในความเข้ม
ระดับต่างๆ ในงานทัศนศิลป์ ซึ่งน้ำหนักที่ใช้ อาจจะเลียนแบบตามลักษณะของแสงเงาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ จะทำให้เกิดปริมาตรของรูปทรง และอารมณ์ความรู้สึกต่อความอ่อน-แก่ หรือความหนาบาง ที่ประสาทตารับรู้

6.พื้นผิว (Texture)
ในทัศนศิลป์ พื้นผิว หมายถึง คุณลักษณะพื้นผิวที่รับรู้ของงานศิลปะ เป็นองค์ประกอบที่พบในการออกแบบทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ และมีลักษณะเฉพาะด้วยคุณสมบัติทางการมองเห็นและทางกายภาพ การใช้พื้นผิว เมื่อใช้ร่วมกับองค์ประกอบการออกแบบอื่นๆ สามารถถ่ายทอดทางการมองเห็นได้หลากหลายและกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกต่างๆได้นั่นเอง ซึ่งพื้นผิวนี้จะเป็นการอ้างอิง หรือเลียนแบบจากพื้นผิวของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือการสร้างเองขึ้นก็ได้

เรียบเรียงโดย อาจารย์นุ อาร์ทมงคล

Credit ข้อมูล :

ทัศนธาตุ : โดย คุณครูวรรณธนา จิรมหาศาล :

Click to access 10106250_1_20170127-133156.pdf

ข้อมูลภาพ : https://pixabay.com/

    Leave a comment