จิตรกรรม – Painting

จิตรกรรม คือผลงานทางด้านศิลปะที่แสดงออกด้วยการ ขีดเขียน  การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ หรือทัศนศิลป์ เป็นงานศิลปะที่มี  2  มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนหรือวาดภาพให้เกิดมิติภาพเพื่อให้เห็นว่าภาพมีความลึกหรือนูนได้ หรือเกิดสัดส่วนหนาหรือบาง หรือความลึกได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้ลายเส้นที่มีความสวยงามพริ้วไหว ใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน ในการผสมผสานให้เกิดภาพที่สวยงาม

องค์ประกอบของงานจิตรกรรม

ประกอบด้วย

1. ผู้สร้างงาน(Artist) หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร หรือศิลปิน 
2. วัสดุ(Material) ที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ  ผ้า หรือวัสดีที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบอื่นๆ 
3. สี(Color Paint) เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน 


                        งานจิตรกรรมเป็นผลงานทางศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ ที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มมีอารธรรม เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนวัสดุธรรมชาติเช่น หินผา ผนังถ้ำ การสร้างรูปบนภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ได้มีการพัฒนาและมีวิวัฒนาการมาเป็นภาพวาดที่ใช้วัสดุที่ทันสมัยสวยงามในปัจจุบัน 

ดังนั้นภาพวาดจึงเป็นเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ที่อยู่ในหมวดทัศนศิลป์ ศิลปินหรือผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า  จิตรกร (Painter)  

งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ 
                                    1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดหรือทำให้เกิดภาพโดยใช้วัสดุใดๆ ที่เมื่อขีดเขียนลงไปบนวัสดุที่รองรับ แล้วเกิดภาพขึ้น โดยการวาดเส้น ในเบื้องต้นมักจะใช้สีพื้นฐานเป็นสีเดียว ซึ่งอาจจะใช้มากว่าหนึ่งสีก็ได้ สีที่นิยมในการวาดมักจะเป็นสีดำ
                                    2.  การระบายสี (Painting) เป็นการวาดหรือทำใหเกิดภาพโดยวัสดุที่เป็นแปรง หรือพู่กัน หรือวัสดุอื่นๆที่คล้ายคลึกกันที่สามารถ ชุบสีแล้วระบายลงพื้นผิวของวัสดุที่จะทำให้เกิดภาพ เพื่อให้เกิดภาพและมีสีสันที่สวยงาม

ประเภทของการวาดโดยการระบายสีมีหลายอย่างจำแนกตามสีที่ใช้ ดังนี้
1.การเขียนภาพสีน้ำ (Colour Painting)
2.การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting)
3.การเขียนภาพสีอะคริลิก (Acrylic Painting)
4.การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting)
5.จิตรกรรมแผง (Panel Painting)

และยังจำแนกตามยุคสมัยและแหล่งสร้างสรรค์ เช่น
-จิตรกรรมไทย
-จิตรกรรมกอทิก
-จิตรกรรมบาโรก
-จิตรกรรมลัทธิประทับใจ
-จิตรกรรมลัทธิประทับใจยุคหลัง
-จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก
-จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
-จิตรกรรมจริตนิยม
-จิตรกรรมสมัยใหม่ยุคพัฒนา                     

 ลักษณะของภาพจิตรกรรม 
                                    งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ 
                                    1. ภาพหุ่นนิ่ง  (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของที่ตั้งอยู่กับที่ ที่ไม่มีลักษณะเคลื่อนไหว
                                    2. ภาพคนทั่วไป  แบ่งได้  2 ชนิด คือ 
                                                2.1 ภาพคน (Figure) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทาง หรืออาการของคน  โดยไม่เน้นความเหมือนของใบหน้าที่บ่งบอกถึงบุคคลนั้นแต่จะเน้นกิริยาท่านทางของคนเป็นหลัก
                                                2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้าของบุคคล ที่มีลักษณะที่เหมือน คล้ายหรือใกล้เคียงกับภาพจริงของบุคคลนั้น
                                    3. ภาพสัตว์ ( Animals Figure)  แสดงถึงลักษณะท่าทางของสัตว์ และอิริยาบทหรือการเคลื่อนไหว ของสัตว์นั้นๆ
                                    4. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงถึงภูมิทัศน์ และรายละเอียดของสิ่งที่ มีตามธรรมชาติ เช่นภาพพื้นดิน ภูเขา(Landscape)  ทะเล(Seascape )  น้ำตก ท้องทุ่งนา สายน้ำ ป่า ชุมชน เมือง (Cityscape)  หรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นต้น

                                    5. ภาพประกอบเรื่อง (Illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดๆ ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญ ให้ผู้อื่นได้รับรู้และมีภาพจินตาการประกอบ เช่นภาพประกอบนวนิยาย ภาพฝาผนัง เช่นภาพ พุทธประวัติ หรือนิทานชาดกเป็นต้น


                                    6. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ แต่เป็นการแสดงถึงองค์ประกอบและความสำคัญของสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกมา
                                    7. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลาย ลายเส้นในรูปแบบต่างๆที่ประกอบกันขึ้น จากการวาดลายเส้น ที่สวยงามเมื่อนำมาตกแต่งกับอาคารสถานที่แล้วทำให้เกิดความสมดุลและเกิดความสวยงาม

การวาดภาพจิตรกรรมมีเทคนิคหลากหลายที่จะช่วยให้สร้างภาพที่น่าดึงดูดความสนใจและสื่อสารความหมายได้อย่างชัดเจน. ต่อไปนี้คือบางเทคนิคบางประการที่สำคัญ:

  1. เทคนิคขีดภาพ: การขีดภาพคือการสร้างภาพถาพโดยใช้เส้นที่วาดลงบนแผ่นกระดาษหรือวัสดุอื่น ๆ
  2. เทคนิควาดภาพรูปร่าง : เริ่มจากการวาดรูปร่างแบบง่าย ๆ เช่นวงกลม, สี่เหลี่ยม, รูปกรวย, หรือลูกบาศก์ เพื่อทำเป็นเฟรมหรือโครงสร้างของภาพที่ต้องการวาด.
  3. เทคนิคการใช้สี: การวาดภาพจิตรกรรมสามารถสร้างความล้ำลึกและความเป็นจริงขึ้นมาได้ด้วยการใช้สี. ความรู้เรื่องการผสมสีและวิธีการใช้สีแต่ละประเภทสามารถเพิ่มความสมจริงในงานวาดภาพได้.
  4. เทคนิคการใช้แสงและเงา: การใช้แสงและเงาในการวาดภาพสามารถสร้างความลึกและความเป็นสามมิติให้แก่ภาพ. การศึกษาเรื่องแหล่งกำเนิดแสงและการแสดงผลของแสงบนวัตถุจะช่วยให้คุณวาดภาพที่มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น.
  5. เทคนิคการวาดมุมมอง: ความชำนาญในการเลือกมุมมองฉากหรือวัตถุที่ต้องการวาดก็เป็นอีกสิ่งที่ควรนำมาพิจารณา. เช่นการเลือกมุมมองจากยอดสูง, เอียง, หรือมุมมองจากทางก้นภาพ.
  6. เทคนิคการศึกษาวัตถุ: การวาดจิตรกรรมยังคงต้องใช้ประสปการณ์ในการจดจำรายละเอียดของสิ่งที่สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดภาพที่มีสมบูรณ์และมีความสวยงาม

อาจจะมีเทคนิคอีกมากมายซึ่งเป็นองค์ประกอบของการสรรค์สร้างงานศิลป์ให้เกิดความสมบูรณ์และสวยงามได้

เรียบเรียง โดย อาจารย์นุ สยามเมจิคัลอาร์ท

เครดิตที่มาของข้อมูล : http://www.digitalschool.club/digitalschool/art/art2_1/unit1/2/painting.php

http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai9_4/page_1.php

One thought on “จิตรกรรม – Painting

Leave a comment