ความรู้เกี่ยวกับการสร้างงานศิลปะ

งานศิลปะคือผลงานที่สร้างสรรค์โดยมนุษย์ที่ถ่ายทอดความคิด, แนวคิด,จินตนาการ ความรู้สึก, ที่มาจากทัศนะคติ หรือความเชื่อ รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอาจจะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ งานวาด, งานแกะสลัก, ปฏิมากรรม, ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, ดนตรี, หรือวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถนำมาสื่อสารหรือสะท้อนความจริง, ความคิดเห็น, หรือจินตนาการของศิลปินผู้สรรค์สร้างงานศืลปะนั้นได้.

องค์ประกอบพื้นฐานของงานศิลปะนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว, อันเนื่องจากมันเป็นสิ่งที่เป็นต้นตอของความคิด ของศิลปินผู้สรรค์สร้าง ที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของผลงานนั้นๆ

งานศิลปะที่เรียกว่า “ทัศนศิลป์“, มีความหมายถึง แนวคิดที่ทำให้เห็นทางสายตาหรือการมองเห็น, เช่น ภาพวาด, จิตรกรรม, ภาพถ่ายและภาพยนตร์.หรืออาจจะเรียกว่าการถ่ายทอดโดยภาพนั้นเอง

การสร้างสรรค์ทางศิลปะ

การสร้างสรรค์ทางศิลปะเป็นกระบวนการที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการอ่านความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่เราสัมผัสได้ทั้งสิ้นผ่านประสบการณ์ส่วนตัวที่หลากหลาย การสร้างสรรค์ในนามศิลปะมักเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบเอาเป็นองค์ประกอบศิลปะโดยใช้ทัศนธาตุ เช่น เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง เป็นสื่อในการถ่ายทอด และผ่านเทคนิคต่าง ๆ

กระบวนการสร้างสรรค์ มีลักษณะในมากมายดังนี้:

  1. การสร้างสรรค์แบบรูปธรรม (Realistic)
  2. การสร้างสรรค์กึ่งนามธรรม (Semi Abstract)
  3. การสร้างสรรค์นามธรรม (Abstract)

วิธีการสร้างสรรค์ทางศิลปะอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแนวคิด ฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์ทั่วไปของศิลปินที่สร้างสรรค์นั้น ผลลัพธ์ของกระบวนการสร้างสรรค์สามารถอยู่ในหลายต้นแบบรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นงานวาด งานแกะสลัก ปฏิมากรรม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ ดนตรี หรือวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถนำมาสื่อสารหรือสะท้อนความจริง ความคิดเห็น หรือจินตนาการของศิลปินผู้สร้างสร้างงานศิลปะนั้นได้.

ในทางจิตรกรรมอาจใช้ ดินสอสี สีน้ำมัน สีน้ำ สีอะครายลิค สีฝุ่น หรือเทคนิคผสม เป็นต้น

ความสำคัญของกระบวนการสร้างสรรค์นั้นคือการทำให้ผู้สร้างสรรค์มีพื้นที่ในการสื่อสาร การนำเสนอ หรือการสะท้อนความคิดและความรู้สึกของเขาในรูปแบบที่สามารถรับรู้หรือสัมผัสได้นั่นเอง.

ประเภทความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ความคิดสร้างสรรค์ทางความคิด (Creative in thinking) คือ การคิดแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนางาน หรือการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้า รู้จักการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาเพื่อนำมาวางแผนงานต่อไป
2. ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม (Creative in beauty) คือ การสร้างสรรค์ความงามที่แปลกใหม่ให้งดงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ในทางปฏิบัติ เช่น การสร้างสรรค์งานศิลปะ การตกแต่งบ้าน ห้องเรียน สำนักงาน ให้มีความแปลกใหม่
3. ความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย (Creative in function) คือ การสร้างสรรค์ดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย เช่น งานสิ่งประดิษฐ์ งานศิลปะที่นำวัสดุต่างๆ ผลิตผลงานขึ้นให้เกิดประโยชน์ใช้สอย เป็นต้น

คุณสมบัติของศิลปินผู้สรรค์สร้างงานศิลปะ

ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในหัวข้อนี้โดยเฉพาะ. มีคุณสมบัติที่สำคัญต่อการเป็นศิลปินในรูปแบบหลายหลายคือ:

  1. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแรงกล้า: การสร้างสรรค์งานศิลปะต้องมาจากมุมมองที่ไม่ธรรมดาและความคิดที่แปลกใหม่. ศิลปินในขณะที่สร้างสร้างงานศิลปะต้องมีความสามารถในการมองเห็นความมหัศจรรย์ในทัศนะคติที่เห็นได้และสามารถสร้างสรรค์และถ่ายทอดผลงานออกมาให้ปรากฏกับผู้ชมได้
  2. การสังเกตดี: ศิลปินควรมีการสังเกตุและฝึกฝนตันเองเพื่อใช้ในการสื่อสารความคิดของตนเองผ่านงานศิลปะ.
  3. ทักษะทางภาษาศิลป์ที่โดดเด่น: ศิลปินต้องสามารถใช้ภาษาศิลป์โดยง่ายและถนัด เพื่อถ่ายทอดความคิดของตนเองผ่านงานศิลปะ.
  4. ความกระตือรือร้น และ กระบวนการทำงานที่ดี: การสร้างสรรค์งานศิลปะทำให้ต้องใช้ความตั้งใจ และ เวลาอย่างมาก. ดังนั้น ศิลปินจึงต้องมีความมานะอดทนและมุ่งมั่นที่ทำงานนั้นให้สำเร็จ.
  5. นิสัยทรงคุณค่าทางทัศนศาสตร์: ศิลปินควรมีสภาวกรรมและความเข้าใจในศิลปะที่เกื้อกูล ทั้งนี้ต้องใช้เวลาในการศึกษา วิจัยและมีการเรียนรู้ในการสร้างสรรค์งานที่สะท้อนให้เห็นต่อความทรงคุณค่าเหล่านี้.

กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
1. การรับรู้ (Perception)
คือ การเรียนรู้ จากการรับรู้ต่างๆ จากโสตประสาท เห็นตาดูหูฟัง ตามสภาพแวดล้อม โดยการสังเกตุและจดจำ เช่นภาพต้นไม้ ใบหญ้า แม่น้ำ ขุนเขา ลำธาร ทะเล ถนนหรือทุกๆอย่างรอบตัว เพื่อให้สามารถจดจำรายละเอียดภาพหรือสภาวะนั้นๆได้เพื่อประโยชน์ในการนำมาสร้างสรรค์ผลงานต่างๆได้


2. ประสบการณ์ (Experience) คือ การที่มนุษย์ผ่านภาวะการรับรู้ในชีวิตประจำวัน เช่นการได้เห็น ได้ฟัง ได้รับรู้ในสิ่งๆนั้นด้วยตนเองมาแล้ว บ่อยครั้งจนจดจำได้ เช่น ศิลปินมีใจรักและชื่นชมความงามของธรรมชาติ ดอกไม้ ใบหญ้า ภูเขา เมื่อสรรค์สร้างผลงานก็จะจดจำรายละเอียดต่างๆได้ดี ทำให้ผลนั้นได้รายละเอียดที่มีความเหมือนกับต้นแบบตามธรรมชาติในทุกลักษณะ


3. จินตนาการ (Imagination) คือ การคิดสร้างภาพหรือรูปแบบในจิตใจก่อนที่จะสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานศิลปะโดยมีพื้นฐานมาพื้นฐานของหลายสิ่งเช่น การได้สัมผัสรับรู้ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1 และข้อ 2 และ มีจินตนาการ หรือสร้างจินตาการแล้วถ่ายทอดสิ่งนั้นออกมาเป็นผลงานศิลปะได้อย่างชำนาญ นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงจินนาการแล้วยังบ่งบอกถึง แนวคิดทัศนคติ ความเชื่อ หรืออารมณ์ความรู้สึกของศิลปินผู้นั้น โดยถูกถ่ายทอดออกมากสู่ผลงาน

ทัศนศิลป์ คือศิลปะที่สามารถรับรู้ได้ผ่านการมองเห็น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมันคือ “ศิลปะที่มองเห็นด้วยตา” จัดอยู่ในหมวดหมู่ของแนวคิดที่ทำให้ สามารถเห็นด้วยการสื่อสารโดยการมองเห็นผ่านทางสายตา เช่น ภาพวาด, จิตรกรรม, ภาพถ่าย และภาพยนตร์ เป็นต้น.

ผลงานทัศนศิลป์สะท้อนความรู้สึก, ความคิด, และความจินตนาการของศิลปิน มันถูกถ่ายทอดผ่านเทคนิค, สี, ความสมบูรณ์, และทัศนะคติ เพื่อสร้างประสบการณ์ความรู้สึกหรือให้ข้อความสำคัญแก่ผู้ชม. โดย ก่อให้เกิดปัจจัยสมมติต่อจิตใจ หรืออาจจะเรียกว่าจินตาการก็ได้ และเกิดผลทางด้านอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่อบุคคลผู้ที่เห็นนั้น ที่มีต่อสิ่งที่เห็นนั้น

Leave a comment